แค่ไข่เน่าแต่ถึงตาย (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

แค่ไข่เน่าแต่ถึงตาย-4

การให้ความช่วยเหลือที่ถูกต้องและฉับไวเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งสามารถแยกการให้ความช่วยเหลือออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. การรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-hospital Care)
  2. การรักษาพยาบาลที่ห้องฉุกเฉิน (Emergency Department Care)

การรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล

ณ จุดเกิดเหตุ

  • ให้ตรวจสอบว่าผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้หรือไม่
  • ตรวจสอบชีพจร
  • ให้ประเมินว่าสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้หรือไม่ เช่น ใส่ปลอกคอ

ณ บริเวณที่ปลอดภัย (Safe Zone)

  • ตรวจสอบว่าผู้ป่วยสามารถหายใจหรือมีออกซิเจนเพียงพอหรือไม่
  • ตรวจชีพจร
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ

การขจัดการเปื้อนสารพิษทั้งหมดหรือบางส่วนให้หลุดออก

  • ถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก
  • ล้างตัวผู้ป่วย
  • หากพบว่าผู้ป่วยมีเนื้อเยื่อตายหรือได้รับอันตรายเนื่องจากความเย็นจัด (Frostbite) ให้นำผ้าห่มคลุมบริเวณที่เป็นเพื่อช่วยให้อบอุ่นขึ้นและเพิ่มการไหลเวียน

หลังจากนั้นจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อไป

การรักษาพยาบาลที่ห้องฉุกเฉิน

กรณีของปอด (Pulmonary)

  • บำบัดด้วยการให้ออกซิเจน (100% oxygen ventilation)
  • กรณีที่หลอดลมหดเกร็ง (Bronchospasms) ใช้ยาพ่นเพื่อขยายหลอดลม (Aerosolized bronchodilators)
  • กรณีที่รุนแรง ใช้การรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy)

กรณีของระบบหัวใจหลอดเลือด (Cardiovascular) ให้สารน้ำ (IV fluids) และยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor) เมื่อผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำ(Hypotensive)

กรณีของผิวหนังที่มีเนื้อเยื่อตายหรือได้รับอันตรายเนื่องจากความเย็นจัดให้รักษาเหมือนอาการแผลไหม้จากความร้อน (Thermal burn)

แหล่งข้อมูล:

  1. Treatment and Management of H2S Poisoning. https://firstaidcalgary.ca/h2s-alive-course/treatment-and-management-of-h2s-poisoning/ [2017, July 07].