แค่ไข่เน่าแต่ถึงตาย (ตอนที่ 2)

แค่ไข่เน่าแต่ถึงตาย-2

ส่วนแหล่งกำเนิดตามโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานฟอกหนัง โรงงานผลิตสารเคมี และบริเวณที่กำจัดของเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย สำหรับแหล่งกำเนิดตามบ้าน ได้แก่ น้ำประปา (Water supply)

ก๊าซไข่เน่าเป็นก๊าซพิษที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน (Chemical asphyxiant) และเป็นพิษต่อเยื่อหุ้มไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial poison) การหายใจจะทำให้ปอดสามารถดูดซับก๊าซไข่เน่าได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการดูดซับทางผิวหนังมีน้อยกว่า

การสูดก๊าซไข่เน่าจะมีลักษณะคล้ายการสูดสารไซยาไนต์ (Cyanide) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ซึ่งจะไปขัดขวางการทำงานของออกซิเจนในร่างกาย

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการสัมผัสกับก๊าซไข่เน่าในปริมาณที่ต่ำ แต่การสูดดมอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้ผู้สูดดมสูญเสียความสามารถในการได้กลิ่นของก๊าซนี้ (Olfactory fatigue) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงไม่ควรอาศัยกลิ่นเป็นการเตือนถึงสภาวะอันตรายของก๊าซ เพราะเป็นไปได้ที่ก๊าซอันตรายยังคงอยู่ เพียงแต่สมองของเรามีการปรับตัว จึงทำให้เกิดอาการดมกลิ่นไม่ได้ชั่วคราวโดยไม่รู้ตัว

ก๊าซไข่เน่าสามารถตรวจพบได้ที่ปริมาณต่ำกว่า 1 ppm โดยมีรายงานว่าประสาทรับกลิ่นได้อยู่ที่ 0.13 - 30 ppm และมีผลกระทบต่อร่างกายดังนี้

[PPM = part per million หรือส่วนในล้านส่วน เป็นตัวเลขค่าความเข้นข้นของสิ่งที่ต้องการตรวจวัด]

ทั้งนี้ ยังไม่มีมาตราฐานค่าวัดและเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ (International standard) อย่างชัดแจ้งถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่า แม้จะมีการสัมผัสก๊าซไข่เน่าในปริมาณที่น้อย แต่หากมีการสัมผัสเป็นประจำในระยะเวลาที่นาน จะก่อให้เกิดผลเสียได้อย่างไรบ้าง

แหล่งข้อมูล:

  1. Human Health Effects from Exposure to Low-Level Concentrations of Hydrogen Sulfide. https://ohsonline.com/Articles/2007/10/Human-Health-Effects-from-Exposure-to-LowLevel-Concentrations-of-Hydrogen-Sulfide.aspx?Page=1 [2017, July 05].
  2. OSHA Fact Sheet - Hydrogen Sulfide (H2S). https://www.osha.gov/OshDoc/data_Hurricane_Facts/hydrogen_sulfide_fact.pdf [2017, July 05].