แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blocker)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blocker ย่อว่า CCB หรือ Calcium channel antagonist หรือ Calcium antagonist) ถูกค้นพบและนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) เป็นหมวดยาที่มีฤทธิ์รบกวนการเคลื่อนย้ายเกลือแคลเซียมในเซลล์ของร่างกาย และส่งผลให้เกิดการลดความดันโลหิต ทางการแพทย์จึงนำยากลุ่มนี้มารักษาโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงอาการเจ็บหน้าอกด้วยหัวใจขาดเลือด และป้องกันการหดเกร็งตัวของหลอดเลือดดำในบริเวณสมองด้วยเช่นเดียวกัน

เราอาจแบ่งหมวดของยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ออกตามโครงสร้างยาได้ดังนี้

1. กลุ่มโครงสร้างไดไฮโดรไพริดีน (Dihydropyridine หรือ Dihydropyridine calcium channel blocker): ใช้ลดความดันของหลอดเลือดแดงและของหลอดเลือดดำ ใช้รักษาอาการหัวใจขาดเลือด ซึ่งในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย ยา เช่น Amlodipine, Aranidipine, Azelnidipine, Barnidipine, Benidipine , Cilnidipine, Isradipine , Efonidipine, Felodipine, Lacidipine , Lercanidipine , Manidipine, Nifedipine, Nilvadipine, Nimodipine , Nisoldipine, Nitrendipine, Pranidipine

2. กลุ่มโครงสร้างนอน - ไดไฮโดรไพริดีน (Non – dihydropyridine Non-Dihydropyridine calcium channel blocker): ยังแบ่งเป็นโครงสร้างโมเลกุลยาได้อีก ดังนี้

  • 2.1 กลุ่มโครงสร้างฟีนิลแอลคิลเอมีน (Phenylalkylamine หรือ Phenylalkylamine calcium channel blocker) ใช้ลดความ ต้องการออกซิเจนในกล้ามเนื้อหัวใจ นำมารักษาอาการหัวใจขาดเลือด (Angina) ประกอบด้วยยา เช่น Verapamil, Gallopamil, Fendiline
  • 2.2 กลุ่มโครงสร้างเบนโซไทอะซีปีน (Benzothiazepine หรือ Benzothiazepine calcium channel blocker ) ช่วยลดอัตราการทำงาน ของหัวใจและทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีตัวยา 1 ตัว คือ Diltiazem

ข้อมูลทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic, การศึกษาความเป็นไปของยาเมื่อ ยาเข้าสู่ร่างกาย) ของยากลุ่มนี้ อาจกล่าวในภาพรวมว่า แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ดูดซึมได้จากระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับกลาง ตัวยาสามารถรวมตัวกับพลาสมาโปร ตีนตั้งแต่ 80% จนถึงมากกว่า 90% ขึ้นไป ตับจะเป็นอวัยวะที่คอยกำจัดยาออกจากร่างกาย โดยต้องใช้เวลาตั้งแต่ประมาณ 2 ชั่วโมงจนถึง 45 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยา

คณะกรรมการอาหารและยาได้บรรจุยากลุ่มนี้บางตัวลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น Amlodipine, Diltiazem, Nicardipine, Nifedipine, Nimodipine, และ Verapamil โดยจัดอยู่ในหมวดยาอันตราย

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีข้อจำเพาะเจาะจงต่อคนไข้แต่ละรายแตกต่างกันออก ไป ยังรวมถึงข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังอีกมากมาย การใช้ยาจึงต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีสรรพคุณดังนี้

  • รักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina)
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • รักษาอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Supraventricular tachycadia)
  • ป้องกันโรคปวดศีรษะที่มีอาการปวดเป็นชุดๆ/ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster headache)

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะลดการนำเข้าของแคลเซียมเข้าในกล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ในผนังเซลล์ของหลอดเลือดรวมถึงกล้ามเนื้อของหัวใจ ส่ง ผลให้หลอดเลือดเหล่านั้นขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลง รวมถึงลดการหดบีบตัวของหัว ใจอีกด้วย

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้

  • ยาเม็ด ขนาด 2.5, 5, 10, 20, 30, 40, 60, 90, และ 240 มิลลิกรัม/เม็ด
  • ยาแคปซูล ขนาด 90 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • ยาฉีด ขนาด 10 และ 50 มิลลิกรัม

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีขนาดรับประทานอย่างไร?

เนื่องจากยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีหลายรายการ ความเหมาะสมของตัวยากับกลุ่มโรคมีความแตกต่างกันออกไป อีกทั้งมีข้อห้ามใช้และผลข้างเคียงมากมาย การใช้ยาที่ปลอดภัยจึงขึ้นกับแพทย์ผู้ทำการรักษาที่จะสามารถบริหารยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หาย ใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อา การข้างเคียง) ดังนี้ เช่น มีอาการปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ บวมตามปลายแขนและขา หัวใจ เต้นเร็ว วิงเวียน รู้สึกระคายเคืองในทางเดินอาหาร และท้องผูก

มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ดังนี้

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วย Wolfe-Parkinson-White Syndrome (กลุ่มอาการหัวใจเต้นผิด ปกติชนิดหนึ่ง)
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุก ชนิด (รวมยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น ดังนี้

  • การรับประทานยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ เช่น Digoxin อาจทำให้ร่างกายกำจัด Digoxin ได้ช้าลง ก่อให้เกิดความเสี่ยงการได้รับพิษจาก Digoxin มากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน หรือต้องปรับขนาดการรับประทานให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
  • การรับประทานยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (เช่น Nifedipine หรือ Diltiazem) ร่วมกับยาลดกรดบางตัว เช่น Cimetidine อาจเพิ่มความเป็นพิษกับหัวใจมากขึ้น จึงควรหลีก เลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การรับประทานยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล๊อกเกอร์บางตัว เช่น Diltiazem ร่วมกับยากันชัก เช่น Phenytoin อาจทำให้ฤทธิ์การรักษาของยากันชักด้อยประสิทธิภาพลง หากไม่จำ เป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน

ควรเก็บรักษายาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์อย่างไร?

กลุ่มยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ควรเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 20 - 25 องศาเซล เซียส (Celsius) เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดดและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Ambes (แอมเบส)GPO
Amcardia (แอมคาร์เดีย)Unique
Amlod (แอมลอด)Unison
Amlodac (แอมโลแดค)Zydus Cadila
Amlopine (แอมโลปีน)Berlin Pharm
Amvas (แอมวาส)Millimed
Deten (ดีเทน)Siam Bheasach
Lovas (โลวาส)Millimed
Narvin (นาร์วิน)T.O. Chemicals
Norvasc (นอร์วาส)Pfizer
Fedil SR (เฟดิล เอสอาร์)Standard Chem & Pharm
Felim (เฟลิม)Sandoz
Felodipin Stada 2.5/5/10 Retard (เฟโลดิปิน สตาดา 2.5/5/10 รีทาร์ด)Stada
Felodipine Sandoz (เฟโลดิปีน แซนดอซ)Sandoz
Felopine 5 (เฟโลปีน 5)Berlin Pharm
Feloten (เฟโลเทน)Biolab
Plendil (เพลนดิล)AstraZeneca
Topidil (ทอพิดิล)T.O. Chemicals
Lercadip (เลอร์คาดิพ)Abbott
Zanidip (ซานิดิพ)Abbott
Madiplot (แมดิพล็อท)Takeda
Adalat CR (แอดาแลท ซีอาร์)Bayer HealthCare Pharma
Adipine (แอดิปีน)Patar Lab
Calcigard Retard (แคลซิการ์ด รีทาร์ด)Torrent
Depin-E Retard (เดปิน-อี รีทาร์ด) Zydus Cadila
Nelapine/Nelapine SR (เนลาปีน/เนลาปีน เอสอาร์)Berlin Pharm
Nicardia (นิคาร์เดีย)J.B. Chemicals
Nicardia CD (นิคาร์เดีย ซีดี)Unique
Nicardia Retard (นิคาร์เดีย รีทาร์ด)J.B. Chemicals
Nifedi-Denk 20 Retard (ไนฟดิ-เดง 20 รีทาร์ด)E Denk
Nifedipin T20 Stada Retard (ไนฟดิปิน ที20 สตาดา รีทาร์ด)Stada
Nifelat (ไนฟแลท)Remedica
Nifelat Q (ไนฟแลท คิว)Remedica
Nimotop (นิโมท็อป)Bayer HealthCare Pharma
Baypress (เบเพรส)Bayer HealthCare Pharma
Ditrenil (ดิเทรนิล)Siam Bheasach
Miniten (มินิเทน)Utopian
Caveril (แคเวริล)Remedica
Isoptin (ไอซอฟติน)Abbott
Isoptin SR (ไอซอฟติน เอสอาร์)Abbott
Sopmil (ซอฟมิล)T.O. Chemicals
Vermine (เวอร์มายน์)Pharmasant Lab
Angizem (แอนไจเซม)Sun Pharma
Cardil CR (คาร์ดิล ซีอาร์)Orion
Cascor XL (แคสคอร์ เอ็กซ์แอล)Ranbaxy
Denazox (เดนาซอก)Remedica
Dilcardia (ดิลคาร์เดีย)J.B. Chemicals
Dilem (ดิเลม)Douglas
Dilizem (ดิลิเซม)Berlin Pharm
Diltec (ดิลเทค)Utopian
Dilzem (ดิลเซม)Pharmasant Lab
Ditizem (ดิทิเซม)Siam Bheasach
Herbesser 30/Herbesser 60 (เฮอร์เบสเซอร์ 30/เฮอร์เบสเซอร์ 60)Mitsubishi Tanabe Pharma
Herbesser 90 SR (เฮอร์เบสเซอร์ 90 เอสอาร์)Mitsubishi Tanabe Pharma
Herbesser Injection (เฮอร์เบสเซอร์ อินเจคชั่น)Mitsubishi Tanabe Pharma
Herbesser R100/Herbesser R200 (เฮอร์เบสเซอร์ อาร์100/เฮอร์เบสเซอร์ อาร์ 200)Mitsubishi Tanabe Pharma
Progor (โพรกอร์)SMB Technology

บรรณานุกรม

  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Calcium_channel_blocker[2017,Sept23]
  2. http://www.bhsoc.org/pdfs/therapeutics/Calcium%20Channel%20Blockers%20(CCBs).pdf[2017,Sept23]
  3. http://www.medscape.com/viewarticle/421426_5[2017,Sept23]
  4. http://www.patient.co.uk/doctor/calcium-channel-blockers-pro[2017,Sept23]
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a692044.html#storage-conditions[2017,Sept23]
  6. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=amlodipine[2017,Sept23]
Updated 2017,Sept23