ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
อาการที่เกี่ยวข้อง :
ยาแคลเซียมกลูโคเนต (Calcium gluconate หรือ Ca gluconate) จัดเป็นยาที่ใช้เสริมธาตุแคลเซียมในผู้ป่วยที่มีระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำ ทางคลินิกยังใช้แคลเซียมกลูโคเนตในวัตถุประสงค์อื่นอีกเช่น ใช้แก้พิษกรณีที่ร่างกายได้รับเกลือแมกนีเซียมเกินขนาด ใช้เป็นยาทาเมื่อผิวหนังไหม้จากการสัมผัสกรดไฮโดรฟลูออริก (Hydrofluoric acid, กรดใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิดเช่น ใช้เป็นสารละลาย) ใช้บำบัดภาวะร่างกายได้รับเกลือโพแทสเซียมสูงเกิน และในอดีตทางการแพทย์เคยใช้แคลเซียมกลูโคเนตชนิดฉีดรักษาผู้ที่ถูกแมงมุมแม่หม้ายดำกัดอีกด้วย
รูปแบบยาแผนปัจจุบันที่พบเห็นได้ของยานี้จะเป็นยาเม็ดชนิดรับประทานและยาฉีด ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ระบุให้แคลเซียมกลูโคเนตเป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานของชุมชน สำหรับประ เทศไทยโดยคณะกรรมการอาหารและยาได้ระบุให้แคลเซียมกลูโคเนตอยู่ในบัญชียาหลักแห่ง ชาติและมีหลายขนาดความแรง ประชาชนโดยทั่วไปมักจะคุ้นเคยกับยากลุ่มแคลเซียมที่เป็นชนิดเม็ดสำหรับรับประทานเท่านั้นซึ่งรวมแคลเซียมกลูโคเนตด้วย อย่างไรก็ตามการใช้ยาหรือได้รับยาแคลเซียมกลูโคเนตเกินขนาดสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้กล่าวคือ อาจพบอาการนิ่วในไต ปวดกระดูก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะมาก อ่อนแรง เบื่ออาหาร ตับอ่อนอักเสบ อาการที่รุนแรงมากกว่านี้น่าจะเป็นภาวะหัวใจเต้นช้าและหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จะพบค่า ECG เปลี่ยนแปลงอย่างผิด ปกติ อาจเกิดภาวะโคม่าจนถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นได้ ดังนั้นก่อนการเลือกใช้แคลเซียมกลูโคเนต ผู้ป่วยสมควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ และไม่ควรไปซื้อหายามารับประทานด้วยตนเอง
ยาแคลเซียมกลูโคเนตมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เช่น
กลไกการออกฤทธิ์ของยาแคลเซียมกลูโคเนตคือ ตัวยาจะเข้าไปสร้างสมดุลของเกลือแคล เซียมในกระแสเลือด ส่งผลให้เส้นประสาทกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างเป็นปกติ นอกจากนั้นร่างกายยังนำแคลเซียมไปใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเพื่อคงสมดุลของเกลือแร่/แร่ธาตุต่างๆในเลือดอีกด้วย
ยาแคลเซียมกลูโคเนตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเช่น
*หมายเหตุ
ด้วยสามารถนำยาแคลเซียมกลูโคเนตมาใช้รักษาในหลากหลายภาวะ/อาการ ดังนั้นการใช้ที่รวมถึงขนาดของยานี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา ในที่นี้ขอยกตัวอย่างขนาดยาแคลเซียมกลูโคเนตเฉพาะขนาดรับประทานสำหรับรักษาภาวะร่างกายขาดแคลเซียมเช่น
*****หมายเหตุ:
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาแคลเซียมกลูโคเนต ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและ เภสัชกรดังนี้
หากลืมรับประทานยาแคลเซียมกลูโคเนตสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัด ไปไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาแคลเซียมกลูโคเนตสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น มีภาวะคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก รู้สึกปั่น ป่วนในกระเพาะอาหาร หัวใจเต้นช้าหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ
มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลเซียมกลูโคเนตเช่น
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาแคลเซียมกลูโคเนตด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่น กัน
ยาแคลเซียมกลูโคเนตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
ควรเก็บยาแคลเซียมกลูโคเนตภายในอุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาแคลเซียมกลูโคเนตที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Calcium Gluconate GPO (แคลเซียมกลูโคเนต จีพีโอ) | GPO |
KAL-forte (คาลฟอร์ท) | B L Hua |
Calcion (แคลซิออน) | Acdhon |
Calcion Calcium Gluconate T.O. (แคลเซียมกลูโคเนต ทีโอ) | T.O. Chemicals |