เอ๊ะเกี่ยวกันได้ไง ! แป้งฝุ่นกับมะเร็งรังไข่ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เอ๊ะเกี่ยวกันได้ไงแป้งฝุ่นกับมะเร็งรังไข่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ คือ

  • อายุ – มะเร็งรังไข่สามารถเกิดได้ในทุกวัย แต่ที่เป็นมากที่สุดคือ ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 50-60 ปี
  • การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม – โดยมีการกลายพันธุ์ของยีน (Gene) ที่ชื่อว่า Breast cancer gene 1 (BRCA1) และ Breast cancer gene 2 (BRCA2)

นอกจากนี้ยังมียีนที่เป็นสาเหตุของ Lynch syndrome ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ได้

  • เคยรับการรักษาด้วยวิธีใช้ฮอร์โมนทดแทน (Estrogen hormone replacement therapy) - เป็นระยะเวลานานและในปริมาณที่มาก
  • อายุเมื่อเริ่มมีประจำเดือนและหมดประจำเดือน – คนที่เริ่มมีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 52 ปี จะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งรังไข่
  • ไม่เคยตั้งครรภ์ (Never being pregnant)
  • มีการรักษาภาวะมีบุตรยาก (Fertility treatment)
  • สูบบุหรี่
  • ใส่ห่วงอนามัย (Intrauterine device)
  • เป็นโรครังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (Polycystic ovary syndrome = PCOS)

การวิเคราะห์โรคจะเริ่มต้นด้วยการตรวจภายใน (Pelvic examination) และอาจตามด้วยการตรวจ

  • ภาพวินิจฉัย (Imaging tests) เช่น อัลตร้าซาวด์ หรือ ซีทีสแกน บริเวณช่องท้องและเชิงกราน เพื่อดูขนาด รูปร่าง และโครงสร้างของรังไข่
  • การตรวจเลือด (Blood test) เพื่อดูค่าโปรตีน CA 125 ที่อยู่บนผิวของเซลล์มะเร็งรังไข่
  • การผ่าตัด เพื่อเอาชิ้นเนื้อและของเหลวไปตรวจยืนยัน หากพบว่ามีเซลล์มะเร็ง แพทย์อาจจะต้องรีบผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกให้เร็วที่สุด

การรักษามะเร็งรังไข่มักจะใช้วิธีผ่าตัดและให้เคมีบำบัดควบคู่กัน ซึ่ง

  • โดยทั่วไปมักทำการตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง และเยื่อแขวนกระเพาะในช่องท้อง (Omentum) ที่เซลล์มะเร็งกระจายตัวไป
  • ในกรณีที่เป็นระยะแรก อาจทำการตัดรังไข่และท่อนำไข่เพียงข้างเดียว เพื่อเปิดโอกาสให้มีบุตรได้อีก
  • หลังการผ่าตัดจะมีการให้เคมีบำบัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ หรืออาจให้เคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดในกรณีที่เป็นมะเร็งรังไข่ระยะท้ายๆ
  • แหล่งข้อมูล

    1. Ovarian cancer. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ovarian-cancer/basics/definition/con-20028096 [2015, November 5].