เอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ (ตอนที่ 3)

เอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ-3

      

      สำหรับอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการจมน้ำ เช่น

o ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxemia) ซึ่งเป็นสาเหตุให้สมองถูกทำลาย

o เนื้อเยื่อที่ปอดถูกทำลายเพราะน้ำเข้าปอด ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome = ARDS)

o หากเป็นการจมในน้ำที่เย็น จะมีความเสี่ยงในการมีภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) ซึ่งเป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายตํ่ากว่า 35 องศาเซลเซียส

      การช่วยเหลือเมื่อพบเห็นผู้ที่จมน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยประการแรกต้องมีสติ อย่าผลีผลาม

      จากนั้นจึงทำการช่วยเหลือได้ด้วยการ

      1. ขอความช่วยเหลือ

• มองหาเจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตคนตกน้ำ (Lifeguard) หรือโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669

      2. เคลื่อนย้ายผู้ที่จมน้ำออกจากน้ำ ด้วยการ

• ยื่นอุปกรณ์ให้จับหรือโยนอุปกรณ์ที่ลอยไม้ให้เกาะ เช่น ท่อนไม้ ห่วงชูชีพ ถังพลาสติก ยางในรถยนต์ ซึ่งอาจต้องเอาเชือกผูกอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อลากคนตกน้ำเข้าฝั่ง

• ส่วนวิธีการกระโดดน้ำลงไปช่วยนั้น เป็นวิธีที่ต้องพึงระวังอย่างมาก และผู้ช่วยเหลือจะต้องมีประสบการณ์ เพราะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากการช่วยเหลือคนตกน้ำและจมน้ำด้วยวิธีนี้

      ทั้งนี้วิธีการที่ถูกต้องคือ ต้องนำอุปกรณ์ช่วยติดตัวไปด้วย เช่น ห่วงยาง โฟม หรือใส่เสื้อชูชีพ และเมื่อว่ายน้ำเข้าไปจวนถึงตัวคนตกน้ำ ให้หยุดอยู่ห่างๆ แล้วยื่นหรือโยนอุปกรณ์ให้เกาะ อย่าเข้าไปจนถึงตัว เพราะผู้ที่จมน้ำหรือตกน้ำอาจเข้ามากอด จนอาจจะทำให้จมน้ำไปด้วยกันได้ เนื่องจากผู้ที่จมน้ำอยู่ในภาวะที่ตกใจ

      การปฐมพยาบาลผู้ที่จมน้ำก่อนส่งแพทย์

      3. ตรวจดูการหายใจ

• เอาหูแนบปากหรือจมูกของผู้ที่จมน้ำ เพื่อดูว่ายังหายใจอยู่หรือไม่

• ดูหน้าอกของผู้ที่จมน้ำว่ายังกระเพื่อมหรือไม่

• หากผู้ป่วยรู้สึกตัว หายใจเองได้ ให้จัดท่านอนตะแคง

แหล่งข้อมูล:

  1. Drowning (Dry, Wet, Near). https://www.medicinenet.com/drowning/article.htm#what_is_drowning_and_what_are_the_statistics [2018, April 5].
  2. Drowning Treatment. https://www.webmd.com/first-aid/drowning-treatment [2018, April 5].
  3. แนวทางการช่วยเหลือคนจมน้ำ ตกน้ำ. http://www.niems.go.th/th/View/ContentDetails.aspx?CateId=112&ContentId=999-2000004464 [2018, April 5].