เอสตร้าไดออล (Estradiol)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาเอสตร้าไดออล (Estradiol) จัดเป็นสารประเภทฮอร์โมนเพศของมนุษย์ โดยมีโครงสร้าง เคมีเหมือนสารสเตียรอยด์ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิงของร่างกาย ที่จำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างและ ในการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศหญิงและในเพศ ชาย นอกจากนี้เอสตร้าดออลยังมีผลต่อการทำงานของระบบอื่นในร่างกายได้อีก เช่น การเจริญเติบ โตของกระดูก การทำงานของตับ การกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมพิทูอิทารี (Pituitary gland, ต่อมใต้สมอง) การทำงานของหลอดเลือด เป็นต้น

อนึ่ง เพศหญิงมีฮอร์โมนเอสตร้าไดออลสูงกว่าเพศชายมาก ทางการแพทย์จัดฮอร์โมนชนิดนี้ เป็นฮอร์โมนเพศหญิง โดยเป็นชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน

ในด้านยา วงการเภสัชกรรมได้ผลิตเอสตร้าไดออลมาเป็นรูปแบบ ยาเม็ดคุมกำเนิด มากกว่ารูปแบบผลิตภัณฑ์อื่นอย่างเช่น ยาประเภททาเฉพาะที่ ยาฉีด เป็นต้น

เอสตร้าไดออล เป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต่อระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบ การจะนำมา ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานเพื่อวัตถุประสงค์ของการคุมกำเนิดหรือใช้รักษาโรค จะต้องถูกคัดกรองด้วยการตรวจสุขภาพร่างกายก่อน การได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมถึงความปลอดภัย ข้อควรระวังระหว่างการใช้ยา รวมไปถึงข้อห้ามใช้ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของเอสตร้าไดออลได้อย่างถูกต้อง ประชาชนทั่วไปสามารถขอคำปรึกษาการใช้ยาเอสตร้าไดออลได้จากแพทย์หรือเภสัชกรร้านขายยา และไม่สมควรเลือกซื้อหาผลิตภัณฑ์มาใช้เองโดยไม่ได้ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยว ชาญเหล่านั้นเลย

เอสตร้าไดออลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

เอสตร้าไดออล

เอสตร้าไดออลมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • เป็นยาคุมกำเนิด ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์
  • ใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในหญิงที่หมดประจำเดือน เช่น จากการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง (ก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน) หรือในวัยหมดประจำเดือน
  • ใช้หลังผ่าตัดแปลงเพศจากชายไปเป็นหญิง

เอสตร้าไดออลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของเอสตร้าไดออลในรูปฮอร์โมนสังเคราะห์นี้ จะยับยั้งการตกไข่และก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก ทำให้เกิดการสร้างเมือก/สารคัดหลั่งที่ขัดขวางการเดินทางของตัวอสุจิให้เข้าไปในโพรงมดลูก พร้อมกับกระตุ้นให้โพรงมดลูกมีผนังบางลง ทำให้ไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ (ในเพศหญิง) ส่งผลให้เกิดฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ตามสรรพคุณ

เอสตร้าไดออลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

เอสตร้าไดออลมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • ยาเม็ดคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 1 มิลลิกรัม/เม็ด บรรจุแผง 28 เม็ด
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 30 ไมโครกรัม/เม็ด บรรจุแผง 21 และ 28 เม็ด
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 35 ไมโครกรัม/เม็ด บรรจุแผง 21 เม็ด
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 20 ไมโครกรัม/เม็ด บรรจุแผง 21 และ 28 เม็ด
  • ยาเม็ด ชนิดฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยหมดประจำเดือน ขนาด 1 และ 2 มิลลิกรัม/เม็ด บรรจุแผง 28 เม็ด
  • ยาเม็ดเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนขนาด 1 มิลลิกรัม/เม็ด บรรจุแผง 30 เม็ด
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 30 ไมโครกรัม 16 เม็ด บรรจุรวมกับขนาด 40 ไมโครกรัม 5 เม็ด ในแผงเดียวกัน
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 40 ไมโครกรัม 7 เม็ด บรรจุรวมกับขนาด 30 ไมโคร กรัม 15 เม็ด และยาที่ปราศจากฮอร์โมน 6 เม็ดในแผงเดียวกัน
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม 15 ไมโครกรัม/เม็ด บรรจุแผง 28 เม็ด
  • แผ่นปิด/แผ่นแปะผิวหนังชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 600 ไมโครกรัม/แผ่น
  • ยาเจลทาผิวหนังขนาดความแรง 0.06%
  • ยาเจลทาผิวหนังขนาดความแรง 1 มิลลิกรัม/น้ำหนักยาเจล 1 กรัม
  • ยาฉีดชนิดฮอร์โมนทดแทนขนาด 5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
  • ยาฉีดสำหรับการแปลงเพศของบุรุษชนิดฮอร์โมนผสมขนาด 3 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

*****หมายเหตุ:

  • ฮอร์โมนผสมหมายถึง เอสตร้าไดออล ผสมกับฮอร์โมนเพศหญิงตัวอื่น
  • แนะนำอ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ‘ยาเม็ดคุมกำเนิด’ และเรื่อง ‘ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง’

เอสตร้าไดออลมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ด้วยยาในกลุ่มเอสตร้าไดออลมีหลายรายการ ขนาดรับประทานจึงขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลประวัติทางการแพทย์ของตัวผู้ป่วย รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการและมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ ผู้รักษาเท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเอสตร้าไดออล ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาเอสตร้าไดออล อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาเอสตร้าไดออลสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ โดยสามารถหาข้อมูล เพิ่มเติมได้จากเว็บไซท์ หาหมอ.com เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)

เอสตร้าไดออลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาเอสตร้าไดออล อาจก่อให้เกิดผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น

  • มีภาวะเลือดออกจากช่องคลอด
  • มีอาการปวดประจำเดือน
  • ช่องคลอดอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อแคนดิดา (เชื้อราในช่องคลอด)
  • อาจเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งปากมดลูก
  • มีน้ำนมไหล
  • เจ็บเต้านม
  • เกิดภาวะลิ่มเลือดตามหลอดเลือดง่าย (ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ)
  • อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากเกิดการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • คลื่นไส้-อาเจียน
  • ปวดเกร็งที่ท้อง
  • ท้องเสีย
  • อาหารไม่ย่อย
  • ปัสสาวะขัด
  • กระเพาะอาหารอักเสบ
  • เพิ่มโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • เสี่ยงกับภาวะตับโต
  • ผื่นคันตามผิวหนัง
  • เกิดลิ่มเลือดบริเวณหลอดเลือดที่เลี้ยงบริเวณลูกตา
  • เกิดไมเกรน
  • ดีซ่าน
  • วิงเวียน
  • อารมณ์หงุดหงิดง่าย
  • วิตกกังวล
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • บวมน้ำ
  • ขาเป็นตะคริว
  • เกิดริดสีดวงทวาร
  • ลมพิษขึ้นคล้ายกับอาการแพ้ยา
  • มีแคลเซียมในเลือดต่ำ
  • หอบหืด
  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

จะพบว่า เอสตร้าไดออล อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้มากมายหากใช้ยานี้โดยไม่ระมัดระวัง และขาดการตรวจสอบร่างกายระหว่างการใช้ฮอร์โมนนี้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจพบความเสี่ยงโดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งที่รังไข่ ด้วยเอสตร้าไดออลสามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของเนื้อเยื่อที่อวัยวะดังกล่าวจนพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายได้

มีข้อควรระวังการใช้เอสตร้าไดออลอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้เอสตร้าไดออล เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้เอสตร้าไดออลเพื่อรักษาภาวะประจำเดือนมามากโดยมิได้ตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงก่อน
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งเต้านม
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำขอด ผู้ป่วยที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด (ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ) ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคตับ
  • ห้ามใช้กับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ระหว่างการรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสตร้าไดออล ควรตรวจคลำเต้านมเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ เช่น มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นหรือไม่
  • หากพบอาการผิดปกติใดๆของร่างกายในระหว่างการใช้ฮอร์โมนเอสตร้าไดออล เช่น ปวดหัวรุนแรง เจ็บหน้าอก อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว เป็นตะคริว ฯลฯ ให้รีบไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เพื่อขอคำปรึกษาและปรับเปลี่ยนการรักษาให้ถูกต้อง
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเอสตร้าไดออลด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพร ต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณ และให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

เอสตร้าไดออลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

เอสตร้าไดออลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยาเอสตร้าไดออลร่วมกับยาสเตียรอยด์ฮอร์โมน เช่นยา Hydrocortisone อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจาก ยาสเตีรอยด์ดังกล่าว หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
  • การใช้ยาเอสตร้าไดออลร่วมกับยากันชัก เช่นยา Phenobarbital อาจทำให้ลดระดับของยาเอสตร้าไดออลในกระแสเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์โดยมิได้ตั้งใจ หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
  • การใช้ยาเอสตร้าไดออลร่วมกับยาขยายหลอดลม เช่นยา Aminophylline สามารถทำให้ระดับของยา Aminophylline ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น ควรให้แพทย์ผู้รักษาปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสม
  • การใช้ยาเอสตร้าไดออลร่วมกับยารักษาโรคเบาหวาน เช่น ยาInsulin อาจทำให้ยารักษาเบาหวานด้อยประสิทธิภาพลง แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป

ควรเก็บรักษาเอสตร้าไดออลอย่างไร?

สามารถเก็บยาเอสตร้าไดออล เช่น

  • สามารถเก็บยาได้ที่อุณหภูมิห้อง
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และ
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

เอสตร้าไดออลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาเอสตร้าไดออล มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Anna (แอนนา) Thai Nakorn Patana
Annie (แอนนี) Pharmahof
Annylyn 21 (แอนนีลิน 21) Thai Nakorn Patana
Annylyn 28 (แอนนีลิน 28) Thai Nakorn Patana
Belara (เบลารา) Abbott
B-Lady (บี-เลดี้) DKT Healthcare
Ciclomex-20 (ไซโคลเม็กซ์-20) Sinensix Pharma
Cilest (ซิลเลส) Janssen-Cilag
Climara 50 (ไคลมารา 50) Bayer HealthCare Pharma
Climen 28 (ไคลเมน 28) Bayer HealthCare Pharma
Cyclo Progynova (ไซโคล โพรจีโนวา) Bayer HealthCare Pharma
Cypress (ไซเพรส) Famy Care
Dafne 35 (แดฟนี 35) Recalcine
Daisy (เดย์ซี่) Famy Care
Diane-35 (ไอแอน-35) Bayer HealthCare Pharma
Dior 21 (ดิออร์ 21) Thai Nakorn Patana
Dior 28 (ดิออร์ 28) Thai Nakorn Patana
Divigel (ดิวิเจล) Orion
Duoton Fort T P (ดูโอตัน ฟอร์ท ทีพี) T P Drug
Ediol (อีดิออล) Synmosa
Femine 30 (เฟมิเน 30) Millimed
Femoston 1/10 (เฟมอสตัน 1/10) Abbott
Femoston Conti (เฟมอสตัน คอนติ) Abbott
Gynera/Gynera ED (กายเนรา/กายเนรา อีดี) Bayer HealthCare Pharma
Helen (เฮเลน) Masa Lab
Jeny-FMP (เจนี่ เอฟเอ็มพี) Thai Nakorn Patana
Lady-E35 (เลดี้-อี 35) Masa Lab
Lindynette 20/Lindynette 30 (ลินดิเนท 20/ลินดิเนท 30) Gedeon Richter
Marvelon 21/Marvelon 28 (มาร์วีลอน 21/มาร์วีลอน 28) MSD
Meliane/Meliane ED (เมลิแอน/เมลิแอน อีดี) Bayer HealthCare Pharma
Mercilon 21/Mercilon 28 (เมอร์ซิลอน 21/เมอร์ซิลอน 28) MSD
Microgynon 30 ED (ไมโครกายนอน 30 อีดี) Bayer HealthCare Pharma
Nordette-21 (นอร์เดท-21) Pfizer
Oestradiol Benzoate March (โอเอสตร้าไดออล เบนโซเอท มาร์ท) March Pharma
Oestrogel (โอเอสโตรเจล) Besins Healthcare
Oilezz (ออยเลซ) Aspen Pharmacare
Phenokinon-F Injection (เฟโนคินอน-เอฟ อินเจ็คชั่น) Vesco Pharma
Postmenop (โพสเมนอพ) Recalcine
Preme (พรีม) Thai Nakorn Patana
Sucee (ซูซี่) Biolab
Triquilar ED (ไตรควิลาร์ อีดี) Bayer HealthCare Pharma
Yasmin (ยาสมิน) Bayer HealthCare Pharma
Yaz (ยาซ) Bayer HealthCare Pharma

บรรณานุกรม

1 http://en.wikipedia.org/wiki/Estradiol [2020,Oct31]
2 http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=estradiol&page=0[2020,Oct31]
3 https://www.drugs.com/drug-interactions/estradiol.html [2020,Oct31]
4 https://www.drugs.com/estradiol.html[2020,Oct31]
6 http://www.webmd.com/drugs/2/drug-5186/estradiol-oral/details/list-contraindications[2020,Oct31]
7 http://www.drugs.com/breastfeeding/ethinyl-estradiol.html [2020,Oct31]