เสี่ยงไหมกับเมลาโทนิน (ตอนที่ 5)

เสี่ยงไหมกับเมลาโทนิน-5

นอกจากนี้ เมลาโทนินยังทำปฏิกริยากับยาหลายตัวด้วย เช่น

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants)
  • ยากันชัก (Anticonvulsants)
  • ยาคุมกำเนิด (Contraceptive drugs)
  • ยารักษาเบาหวาน (Diabetes medications)
  • ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressants)

ที้งนี้ ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับเมลาโทนิน และให้ผลดังนี้

กรณีที่เป็นไปได้มาก (Likely Effective)

  • ช่วยเรื่องความผิดปกติในการนอนของคนตาบอดทั้งเด็กและผู้ใหญ่
  • ช่วยเรื่องการเข้านอนเมื่อผ่านเวลานอนไปแล้ว ทำให้ใช้เวลาหลับได้เร็วขึ้น (อย่างไรก็ดี กรณีที่มีการหยุดยาภายใน 1 ปี ปัญหานี้ก็กลับมาอีก)
  • ช่วยในคนที่มีปัญหาเรื่องรบกวนการหลับๆ ตื่นๆ (Sleep-wake cycle disturbances) เช่น เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคออทิสซึม ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม

กรณีที่น่าจะเป็นไปได้ (Possibly Effective)

  • ช่วยลดอาการนอนไม่หลับจากผลของยาเบต้า บล็อกเกอร์
  • ลดอาการปวดมดลูกจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ปวดประจำเดือน และการมีเพศสัมพันธ์
  • รักษาความดันโลหิตสูง
  • รักษาอาการเจ็ทแลค
  • ลดความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัด ด้วยการอมไว้ใต้ลิ้นv
  • ลดขนาดของก้อนเนื้อ (Tumors)
  • ลดอาการแดดเผา (Sunburn)
  • รักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)

กรณีที่อาจจะใช้ไม่ได้ผล (Possibly Ineffective)

  • การเลิกยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines)
  • ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง (Cachexia)
  • สมองเสื่อม (Dementia)
  • ภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
  • แก้ปัญหาการนอนในคนที่ทำงานเป็นกะ

แหล่งข้อมูล:

  1. Is melatonin a helpful sleep aid — and what should I know about melatonin side effects? https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/melatonin-side-effects/faq-20057874 [2017, November 2].
  2. MELATONIN. https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-940-melatonin.aspx?activeingredientid=940 [2017, November 2].