เสียงแห่งความเงียบ (ตอนที่ 2)

เสียงแห่งความเงียบ่

อาการเสียงดังในหูไม่ใช่โรค ส่วนใหญ่ของอาการเสียงดังในหูมีสาเหตุเกิดจากการได้ยินเสียงดังบ่อยๆ อย่าง ช่างไม้ นักบิน นักร้องเพลงร็อค คนซ่อมถนน เป็นการสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป (Noise-induced hearing loss) และยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น

  • ขี้หูอุดตัน ติดเชื้อในหู (Ear infections) หรือมีเนื้อก้อนในเส้นประสาทหู
  • ประสาทถูกทำลายอย่างโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือที่เรียกว่า โรคเอมเอส (MS = Multiple Sclerosis)
  • ผลข้างเคียงของยาบ้างชนิดอย่างยาแอสไพริน (Aspirin) ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาแก้อักเสบ (Anti-inflammatories) ยาระงับประสาท (Sedatives) ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) ยาควินิน (Quinine medications) และยาอื่นๆ
  • การเสื่อมสภาพไปตามอายุ ที่เป็นสาเหตุให้หูชั้นใน (Cochlea) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อขดคล้ายก้นหอย เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการรับคลื่นเสียง และส่วนต่างๆ ของหูเสื่อมตามไปด้วย
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere's disease) ซึ่งกระทบต่อหูชั้นใน
  • โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)
  • โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ที่เป็นไปตามอายุที่มากขึ้น และคลอเรสเตอรอลที่สูงขึ้น ทำให้หลอดเลือดที่อยู่ใกล้กับหูชั้นกลางและหูชั้นในไม่ยืดหยุ่น เป็นเหตุให้เลือดไหลเวียนลำบาก หูจึงได้ยินเสียงดัง ซึ่งมักเป็นทั้ง 2 ข้าง
  • มีความผิดปกติของโครงสร้างเส้นเลือดฝอย (Malformation of capillaries) ที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างหลอดเลือดแดงกับดำผิดปกติ (Arteriovenous malformation = AVM) จึงอาจทำให้เกิดอาการเสียงดังในหู ซึ่งมักเกิดเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
  • อาการต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง (High blood pressure) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) การผิดปกติทางระบบโลหิต (Circulatory problems) โรคโลหิตจาง (Anemia) โรคภูมิแพ้ (Allergies)
  • มีปัญหาเรื่องคอหรือขากรรไกร เช่น ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint syndrome = TMJ)
  • ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ
  • ความเครียดทางอารมณ์ (Emotional stress)
  • ภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative stress)

[ภาวะเครียดออกซิเดชั่น คือ ภาวะที่มีอนุมูลอิสระมากเกิน แต่ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอ และส่งผลให้เซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ เกิดการทำลายดีเอ็นเอ โปรตีน ไขมัน และโมเลกุลอื่น ๆ จัดเป็นการทำลายแบบออกซิเดชั่น (Oxidative damage) หากเกิดประจำต่อเนื่อง ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคทางระบบประสาท ภาวะเสื่อมสภาพ และ แก่ก่อนวัย]

แหล่งข้อมูล

  1. Tinnitus. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tinnitus/basics/definition/con-20021487 [2015, May 26].
  2. Tinnitus. http://en.wikipedia.org/wiki/Tinnitus [2015, May 26].
  3. Understanding Tinnitus -- the Basics. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-tinnitus-basics [2015, May 26].