เสียงแห่งความเงียบ (ตอนที่ 1)

เสียงแห่งความเงียบ่

ระยะนี้มีคนมาพูดให้ฟังว่า มีเสียงหวีดในหูดังค่อนข้างมาก เสียงดังในหูนั้นคล้ายเสียงจักจั่น หรือจิ้งหรีดร้องอยู่ภายใน มักได้ยินชัดขึ้นในเวลากลางคืน ในที่เงียบๆ แล้วเสียงนี้คืออะไรกัน หรือเป็นเสียงแห่งความเงียบ (The sound of silence) กันแน่

เสียงดังในหู (Tinnitus) เป็นปัญหาที่พบได้ค่อนข้างมาก เรามักพบอาการนี้ 1 คน ในจำนวน 5 คน เป็นอาการที่ทำให้เกิดความรำคาญต่อผู้ที่เป็น เสียงอาจเป็นๆ หายๆ หรือเป็นต่อเนื่อง และมีความดังที่แตกต่างกันได้ มีการประมาณการว่ามีชาวอเมริกันถึง 50 ล้านคนที่ต้องเผชิญกับภาวะนี้

อาการเสียงดังในหูอาจเกิดที่หูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยมีลักษณะเป็นเสียงเหมือน

  • หูอื้อ (Ringing)
  • เสียงหวี่ (Buzzing)
  • เสียงดัง (Roaring)
  • เสียงฟ่อ (Hissing)
  • เสียงหึ่ง (Humming)
  • เสียงหวีดหวิว (Whistling)
  • และอื่นๆ

คนส่วนใหญ่ที่มีอาการเสียงดังในหูจะมีการสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) ไปด้วย ทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงภายนอกที่อยู่ในระดับความถี่เดียวกับเสียงที่ดังในหู (Phantom soun

ds) อาการเสียงดังในหูตลอด ทำให้คนส่วนมากรู้สึกหงุดหงิดฉุนเฉียว (Irritability) อ่อนแอ (Fatigue) ซึมเศร้าหดหู่ (Depression) วิตกกังวล (Anxiety) และรบกวนการนอนหลับ

เราสามารถแบ่งอาการเสียงดังในหูออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Subjective tinnitus และ Objective tinnitus

Subjective tinnitus หรือ เสียงดังในหูชนิดที่ได้ยินเฉพาะตัวผู้ป่วย หรือเสียงที่มีการรับรู้ผิดปกติโดยที่ไม่มีเสียงเกิดขึ้นจริง เป็นชนิดที่พบมาก มีตั้งแต่ระดับอ่อนไปจนถึงระดับรุนแรง เช่น รบกวนการนอน การทำกิจกรรมระหว่างวันSubjective tinnitus ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ ได้แก่ "Tinnitus aurium" "Nonauditory" "Nonvibratory" tinnitus

Subjective tinnitus อาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากการสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป (Noise-induced hearing loss) ซึ่งเป็นผลจากการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่มีมากกว่า 260 ชนิด เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาควินิดีน (Quinidine) ที่ใช้เป็นยารักษาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ และการหยุดใช้ยาในกลุ่ม Benzodiazepines เป็นต้น

Objective tinnitus หรือ เสียงดังในหูชนิดที่บุคคลภายนอกสามารถได้ยิน หรือเสียงที่มีแหล่งกำเนิดเสียงจริงอยู่ภายในร่างกายของผู้ที่ได้ยิน Objective tinnitus ยังมีชื่อเรียกออื่น ได้แก่ "Pseudo-tinnitus" หรือ "Vibratory" tinnitus

แหล่งข้อมูล

  1. Tinnitus. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tinnitus/basics/definition/con-20021487 [2015, May 25].
  2. Tinnitus. http://en.wikipedia.org/wiki/Tinnitus [2015, May 25].
  3. Understanding Tinnitus -- the Basics. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-tinnitus-basics [2015, May 25].