“เลือด” ที่คุณมี (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

เลือด_ที่คุณมี

หรือแสดงเป็นตารางรายละเอียดการบริจาคเลือดได้ดังนี้

สำหรับการทดสอบว่า มีกรุ๊ปเลือดอะไรนั้น จะใช้สารละลาย Antibody (Antibody solutions) ที่ต่างกันไป เช่น หากเป็นคนกรุ๊ปเลือด B สารละลายที่ประกอบด้วย B antibodies จะจับตัวเข้ากับ B antigens แต่หากสารละลายไม่ทำปฏิกริยาทั้ง A antibodies หรือ B antibodies นั่นหมายความว่าเลือดนั้นเป็นเลือดกรุ๊ป O เป็นต้น

กรณีที่มีการให้เลือด (Blood transfusion) ก็จะต้องมีการทดสอบเลือดของผู้ให้และผู้รับก่อนว่า เลือดเข้ากันได้หรือไม่ โดยกรุ๊ปเลือดที่สามารถบริจาคให้ทุกคนได้ (Universal donors) คือ O RhD negative และกรุ๊ปเลือดที่สามารถรับการบริจาคได้จากทุกคน (Universal recipients) คือ AB RhD positive

ส่วนกรณีของหญิงตั้งครรภ์ก็จะต้องมีการทดสอบเลือดอยู่เสมอ เพราะหากฝ่ายแม่มีเลือด RhD negative แต่ทารกได้รับการถ่ายทอดเลือด RhD positive จากฝ่ายพ่อแล้ว อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ถ้าไม่ทำการรักษา

คนส่วนใหญ่สามารถบริจาคเลือดได้ อย่างไรก็ดีมีคนเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่ทำการบริจาคเลือด ทุกคนสามารถบริจาคเลือดได้ถ้า

  • มีสุขภาพที่ดีโดยรวม
  • อายุระหว่าง 17 – 66 ปี
  • มีน้ำหนักอย่างน้อย 50 กก.

ดังนั้น จึงใคร่ขอเชิญผู้ที่มีคุณสมบัติข้างต้นมาบริจาคเลือดกันเถอะ

แหล่งข้อมูล

1. Blood groups.http://www.nhs.uk/Conditions/Blood-groups/Pages/Introduction.aspx[2015,November 2].

2. Blood-types. http://www.redcrossblood.org/learn-about-blood/blood-types [2015,November 2].

3. Blood-types. . https://en.wikipedia.org/wiki/Blood_type[2015,November 2].