เลือดจาง....ไปไหนกัน (ตอนที่ 5)

อาการภาวะเลือดจางจากการได้รับสารพิษตะกั่วเรื้อรัง

  • เหงือกมีเส้นสีดำน้ำเงินซึ่งแสดงให้เห็นถึงพิษของตะกั่ว
  • ปวดช่องท้อง
  • ท้องผูก
  • อาเจียน

อาการภาวะเลือดจางจากการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง

  • เป็นดีซ่าน (Jaundice)
  • ปัสสาวะสีน้ำตาลหรือสีแดง
  • ขาเป็นแผล
  • มีอาการนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)

อาการภาวะเลือดจางจากการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างทันที

  • ปวดช่องท้อง
  • ปัสสาวะสีน้ำตาลหรือสีแดง
  • ผิวสีเหลือง เป็นดีซ่าน
  • มีจ้ำเลือดที่ผิวหนัง
  • ชัก (Seizures)
  • มีอาการไตวาย

ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้โดยการตรวจเลือด ซึ่งรวมถึง

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count = CBC) เพื่อดูขนาด ปริมาณ และฮีโมโกลบินที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การตรวจระดับธาตุเหล็กในเลือดและตรวจค่า Serum ferritin ที่สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณของเหล็กที่เก็บสะสมในร่างกาย
  • การตรวจระดับวิตามินบี 12 และโฟเลต ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte count) การตรวจบิลิรูบิน (Bilirubin) เพื่อบอกว่ามีดีซ่านหรือไม่

ในการรักษาภาวะเลือดจางทั่วไป แพทย์อาจแนะนำให้เพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งได้แก่ เนื้อแดง ถั่ว ไข่แดง ธัญพืชเต็มเม็ด นม และอาหารทะเล จากนั้นจะทำการควบคุมเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือด ฮีมาโตคริต (Hematocrit) ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) และระดับเฟอร์ริติน (Ferritin levels)

แหล่งข้อมูล

1. Understanding Anemia – Symptoms. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-anemia-symptoms [2014, June 15].
2. Understanding Anemia -- Diagnosis and Treatment. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-anemia-treatment [2014, June 15].