“เลปโตคือโรคฉี่หนู ถ้าใครไม่รู้...นึกว่าเป็นหวัด” (ตอนที่ 1)

ชื่อเรื่องวันนี้เป็นเนื้อเพลงจากภาพยนตร์ไทยเรื่อง “หมอเจ็บ” (2004) ที่ผู้เขียนจำได้ติดหู เพราะเป็นท่อนหนึ่งของ เพลงที่ตัวเอกของเรื่องแต่งเพื่ออธิบายภาพรวมของ “โรคฉี่หนู” หรือ Leptospirosis ได้ชัดเจน จำง่าย และแหวกแนวที่สุด “เลปโต เลปโต เลปโต เลปโตคือโรคฉี่หนู ถ้าใครไม่รู้...นึกว่าเป็นหวัด” ถือเป็นบทนำที่ยอดเยี่ยมสำหรับการให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับ “โรคฉี่หนู” โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าฝนแบบนี้

นายชรัตน์ วสุธาดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่าในปี 2555 จังหวัดจันทบุรี พบผู้ติด เชื้อโรคฉี่หนู แล้ว 22 ราย และเสียชีวิตแล้ว 2 ราย ขณะที่อัตราส่วนของผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคฉี่หนู จะอยู่ในเดือนกรกฎาคม มากที่สุด และส่วนใหญ่ของผู้เข้ารับการรักษาคือ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ลักษณะของอาการของผู้ที่ได้รับเชื้อคือ จะมีไข้สูง ตาแดง ปวดเมื่อยน่อง หากอาการรุนแรงอาจทำให้อวัยวะภายใน หยุดทำงาน ไตวายเฉียบพลัน และถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งโรค ดังกล่าวเป็นโรคติดต่อทางการสัมผัส สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค

คือ สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็ก หรือสัตว์ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนู และประชาชนมักติดเชื้อจากสัตว์ จำพวกหนูเป็นส่วนใหญ่

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Spirochete แพร่กระจายทั่วโลก แต่โดย มากมักแพร่กระจายในเขตเมืองร้อน (Tropics) มีสัตว์อย่างหนูเป็นพาหะ และแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสดินหรือน้ำที่ติดเชื้อ เนื่องจากดินและน้ำเหล่านี้ปนเปื้อน (Contamination)ไปด้วยสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ที่เป็นพาหะ

กลุ่มคนในอาชีพอย่าง สัตวแพทย์ เจ้าของร้านสัตว์เลี้ยง คนงานขุดลอกท่อ และเกษตรกร ล้วนอยู่ในกลุ่มที่มีความ เสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคฉี่หนู รวมไปถึงคนที่ชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้งอย่าง ล่องแก่ง ปีนเขา หรือตั้งแคมป์ เนื่องจากคนเหล่านี้ มีโอกาสสูงที่จะบริโภคอาหารหรือน้ำดื่ม หรือทำให้เกิดการสัมผัสกับสิ่งขับถ่ายที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ระหว่างผิวที่เป็นแผลเปิด

ข้อสำคัญคือเยื่อเมือก (Mucous membrane) อย่างตา จมูก โพรงจมูก และปาก กับน้ำหรือดิน ที่ปนเปื้อน ส่วนอาการ ของโรคมักเริ่มต้นในช่วง 2 - 25 วัน หลังครั้งแรกของการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะ หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ ที่เป็นพาหะ หรืออาจผ่านทางดินหรือน้ำปนเปื้อน โดยอาการป่วยมักเป็นไปตามระยะของโรค 2 ระยะ คือ

ระยะแรกของ อาการเหมือนโรคหวัดทั่วไป (ซึ่งระยะของโรคเช่นนี้เองที่ทำให้คนประมาท ไม่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่โต) ประกอบไปด้วย อาการปวดหัว/ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ เจ็บกระบอกตาและมองเห็นแต่แสงจ้า ตามด้วยอาการหนาวสั่น และเป็นไข้ ตาแดงและฉ่ำน้ำ โดยอาการเหล่านี้จะดูเหมือนดีขึ้นช่วงวันที่ห้าไปจนถึงวันที่เก้า

ระยะที่สองจะเริ่มหลังจากรู้สึกเหมือนหายดี ได้ 2 - 3 วัน แล้วอาการแรกเริ่มกลับมาอีกครั้งพร้อมไข้และการปวด เมื่อยคอ ผู้ป่วยบางรายเกิดการอักเสบที่เส้นประสาทสู่ตา สมอง เยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มไขสันหลัง (Meningitis) หรือเส้น ประสาทอื่นๆ อาจมีอาการปวดช่องท้อง (Abdominal pain) บริเวณช่วงขวาบน และอาการที่พบได้น้อยอย่าง โรคเกี่ยวกับตับ ปอด ไต และหัวใจ ซึ่งโรคฉี่หนูที่เกี่ยวข้องกับตับและไต ที่เรียกกันว่า Weil’s syndrome จะทำให้เกิดอาการตัวเหลืองของ โรคดีซ่าน (Jaundice)

แหล่งข้อมูล:

  1. จันทบุรีพบผู้ติดเชื้อโรคฉี่หนูแล้ว 22 รายเสียชีวิต 2 http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000125185&Keyword=%CA%D2%B8%D2%C3%B3%CA%D8%A2 [2012, October 16].
  2. [Leptospirosis] What is leptospirosis? http://www.medicinenet.com/leptospirosis/article.htm#what_is_leptospirosis [2012, October 16].