เรื้อน (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

เรื้อน

สำหรับการรักษาใช้เวลานาน 6 เดือนถึง 2 ปี ซึ่งสามารถทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักมีการให้ยาร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด (Multidrug therapy = MDT) เช่น ยา

  • Dapsone
  • Rifampin
  • Clofazamine
  • Fluoroquinolones
  • Macrolides
  • Minocycline

ส่วนการควบคุมการอักเสบมักให้ยา

  • Aspirin
  • Prednisone
  • Thalidomide (ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์หรืออาจจะตั้งครรภ์)

อาการแทรกซ้อนที่เกิด ขึ้นกับความเร็วในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคและประสิทธิผลในการรักษา อาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นได้น้อยถ้ารีบรักษาแต่เนิ่นๆ อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • การทำให้เสียโฉม (Disfigurement) เช่น ไม่มีขนคิ้ว อวัยวะที่ขา มือ และเท้าผิดรูปร่าง เป็นต้น
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เส้นประสาทที่แขนและขาถูกทำลายอย่างถาวร
  • สูญเสียความรู้สึก (Sensory loss)
  • ตาบอด หรือ เป็นต้อหิน (Glaucoma)
  • การไร้สมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction) ในชาย
  • ไตวาย (Kidney failure)

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อนมานานอาจจะไม่สามารถใช้มือหรือเท้าได้ เพราะมือหรือเท้าได้รับบาดเจ็บอันเนื่องมากจากการไร้ความรู้สึกบริเวณนั้นๆ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคเรื้อน แต่มีรายงานการใช้วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG vaccine) ร่วมกับความร้อนในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ดังนั้น การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา (ผู้ป่วยจะหยุดแพร่เชื้อเมื่อเริ่มกินยา) การเข้าไปในแหล่งที่มีการระบาด

แหล่งข้อมูล

1. Leprosy Overview. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/leprosy-symptoms-treatments-history[2015, January 26].

2. Leprosyhttps://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001347.htm [2015, January 26].

3. Is Leprosy (Hansen's Disease) Contagious? http://www.medicinenet.com/is_leprosy_hansens_disease_contagious/article.htm[2015, January 26].

4. Leprosy (Hansen's disease). http://www.medicinenet.com/leprosy/article.htm[2015, January 26].