เรื้อน (ตอนที่ 2)

เรื้อน

นพ.อำนวย อธิบายว่า โรคเรื้อนเป็นโรคผิวหนัง ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาป้องกัน แต่มียารักษาที่ให้ผลดี วิธีการเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือการตรวจร่างกายให้พบโรคได้เร็วที่สุด จึงขอแนะนำประชาชนให้สังเกตอาการผิดปกติที่ผิวหนัง ,/p>

พราะเชื้อโรคเรื้อนมีระยะฟักตัวนานประมาณ 2-12 ปี กว่าจะปรากฏอาการ โดยผิวหนังจะเป็นรอยผื่นวงด่างขาวหรือแดงหรือเป็นตุ่ม นูนแดง ชา หยิกไม่เจ็บ ไม่คัน ขนภายในรอยวงร่วง เหงื่อไม่ออก หากได้รับการรักษา คือกินยาเร็ว ยาเม็ดแรกจะฆ่าเชื้อในร่างกายได้มากถึงร้อยละ 99 ภายใน 3-5 วัน ซึ่งจะไม่มีความพิการและไม่แพร่เชื้อสู่คนอื่น

แต่หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อจะเข้าไปทำลายเส้นประสาทส่วนปลายที่หล่อเลี้ยง เช่น บริเวณปลายมือ ปลายเท้า ทำให้เกิดความพิการต่ออวัยวะเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่มือเท้าอ่อนแรง กระดูกนิ้วมือนิ้วเท้าผิดรูป หงิกงอ นิ้วกุด หรือเท้าเป็นแผลติดเชื้ออักเสบลุกลามจนถึงต้องตัดทิ้ง

นพ.อำนวย อธิบายอีกว่า โรคนี้ใช้เวลารักษานาน 6 เดือนถึง 2 ปี ขี้นอยู่กับความรุนแรงและชนิดโรค ดังนั้น จึงขอให้ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง รักษาไม่หายขาดใน 3 เดือน อย่าชะล่าใจ ขอให้พบแพทย์ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยยืนยันและเข้ารับการรักษาต่อไป และหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

โรคเรื้อน (Leprosy) หรือ โรคแฮนเซน (Hansen's disease : HD) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium leprae และ Mycobacterium lepromatosis เป็นเชื้อที่มีระยะเวลาฟักตัวที่ยาวนาน 2-10 ปี (หรืออาจนานถึง 20 ปี แต่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ปี) จึงทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้ป่วยติดเชื้อจากที่ไหนและเมื่อไร โดยเด็กจะมีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่าผู้ใหญ่

เชื้อจะเข้าทำลายที่ ผิวหนัง ประสาทส่วนปลาย (Peripheral nerves) เยื่อบุผิว (Mucosa) ของทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract) และตา การติดเชื้อจากคนสู่คนเกิดจากการอยู่ใกล้และสัมผัสหรือสูดละออง (Droplets) จากจมูกและปากของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา เช่น การไอ การจาม นอกจากนี้ยังอาจมีการติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คนได้ (แต่ไม่ค่อยพบ) โดยสัตว์ที่ติดเชื้อ ได้แก่ ลิงซิมแปนซี (Chimpanzees) ลิงท้องถิ่น (Mangabey monkeys) ลิงแสม (Cynomolgus macaque) และตัวนิ่ม (Nine-banded armadillos)

โรคเรื้อนไม่ได้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Hereditary) แต่จากผลการศึกษาล่าสุดแนะนำว่า ความไว (Susceptibility) ในการติดเชื้ออาจขึ้นกับพันธุกรรม (Genetic basis)

แหล่งข้อมูล

1. สธ.เข้ม 3 มาตรการค้นหา “ผู้ป่วยโรคเรื้อน” หลังแนวโน้มเพิ่ม. http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000003488&Keyword=%e2%c3%a4[2015, January 24].

2. Leprosyhttp://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs101/en/ [2015, January 24].

3. Leprosyhttps://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001347.htm [2015, January 24].

4. Is Leprosy (Hansen's Disease) Contagious? http://www.medicinenet.com/is_leprosy_hansens_disease_contagious/article.htm[2015, January 24].

5. Leprosy (Hansen's disease). http://www.medicinenet.com/leprosy/article.htm [2015, January 24].