เรื่องน่ารู้ ในผู้สูงอายุ (ตอนที่ 2)

นพ.บรรลุ ศิริพานิช อดีตประธานสภาผู้สูงอายุ กล่าวว่า ผู้สูงอายุ 2 ใน 3 คนจะอยู่ในชนบท และมีผู้สูงอายุสุขภาพไม่ดี [ไม่ดี] ประมาณ 1 ล้านคน จึงเห็นว่าสถานบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งตั้งอยู่ในชนบทและอยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุมากที่สุด ต้องให้ความสำคัญกับการจัดบริการผู้สูงอายุ ในประเด็นต่างๆ กัน

ผลกระทบทางกายภาพ แตกต่างไปตามแต่ละบุคคล แต่การเจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic ailments) โดยเฉพาะการเจ็บปวด (Aches and pains) เป็นสิ่งพบบ่อยในผู้สูงอายุ มากกว่าการเจ็บป่วยเฉียบพลัน (Acute ailments) ทำให้ผู้สูงอายุต้องใช้เงินและเวลาไปในเรื่องปัญหาสุขภาพ

ในสมัยอาณาจักรโรมัน และยุโรปสมัยกลางของ ช่วงอายุเฉลี่ย (Average life span) อยู่ระหว่าง 20 ถึง 30 ปี แต่อายุคาด (Life expectancy) ทุกวันนี้ ได้ขยายตัวสืบเนื่องมาแต่ประวัติศาสตร์อย่างไม่เหลือสัดส่วนเดิม โดยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีประชากรจำนวนมากที่อยู่รอด (Survive) ถึง 65 ปี ดังนั้นปัญหาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับชราภาพ (Aging) อาทิ โรคมะเร็ง (Cancer) และ โรคหัวใจ (Heart disease) ก็ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว

ทักษะเกี่ยวกับประสาทความรู้สึก (Sensory) และการหยั่งรู้ (Perceptual) ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ (Muscular strength) และความจำ (Memory) มักจะลดน้อยถอยลงด้วยอายุ ทำให้ผู้สูงอายุไม่เหมาะสมสำหรับกิจการบางอย่าง อย่างไรก็ตาม ไม่มีประจักษ์หลักฐานว่า ปัญญา (Intelligence) จะเสื่อมลงตามอายุ แต่ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาและมาตรฐานการครองชีพ

แต่ผู้สูงอายุจะประสบปัญหาการได้ยิน (Hearing) จากการศึกษาวิจัย พบว่า ในบรรดาผู้มีอายุ 75 ปีขึ้น ร้อยละ 48 ของชาย และร้อยละ 37 ของหญิง ประสบปัญหาการได้ยิน ดังนั้น ประชากร 26.7 ล้านคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป พบการเสื่อมสมรรถภาพ (Impairment) ของการได้ยิน มีเพียง 1 ใน 7 หรือ ร้อยละ 14 ที่ใช้อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน (Hearing aid)

ผู้สูงอายุยังประสบปัญหาการมองเห็น (Eyesight) โดยเฉพาะการอ่านหนังสือในที่แสงสว่างไม่พอ และตัวอักษรขนาดเล็ก ความเร็วในการอ่านก็จะช้าลงเช่นกัน รวมทั้งล่อแหลม (Susceptibility) ต่อโรคกระดูกและข้อ (Bone and joint) อาทิ กระดูกอักเสบ (Oosteoarthritis) และกระดูกพรุน (Osteoperosis)

กิจกรรมทางเพศ (Sexual activity) ก็มีแนวโน้มที่จะลดน้อยถอยลงตามอายุ แต่ถ้ายังเป็นคนสุขภาพดี (แข็งแรง) ก็สามารถดำเนินต่อเนื่องในเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างไม่มีข้อจำกัด การสูญเสียความจำ (Memory loss is) กลายเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากการลดลงของความเร็ว ในการบันทึกข้อมูล การเก็บข้อมูล และการดึงข้อมูลมาใช้ รวมทั้งการเรียนรู้ข้อมูลใหม่

ต้องตอกย้ำว่า ประเด็นทางสุขภาพ ของแต่ละบุคคลนั้นไม่เหมือนกันใน ดังนั้นปัญของผู้สูงอายุคนหนึ่งอาจไม่มีผลกระทบต่ออีกคนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการรักษาพยาบาล เป็นสาเหตุของความกังวลในหมู่ผู้สูงอายุและสังคม จนเป็นผลให้มีการประเมินใหม่ (Re-evaluation) และปฏิรูป (Reform) ซึ่งสถาบันและโครงการต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ

แหล่งข้อมูล:

  1. ชี้คนแก่กว่า 70% เหงา เหตุเพราะไม่มีเพื่อน แนะตั้งชมรมผู้สูงอายุ ช่วยให้สุขภาพจิตดี http://www.naewna.com/local/22089 [2012, September 22].
  2. Old age. http://en.wikipedia.org/wiki/Old_age [2012, September 22].
  3. Old age. http://www.britannica.com/EBchecked/topic/426737/old-age [2012, September 22].