สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน แสงสีฟ้าทำลายเซลส์จอตาให้ห้องปฏิบัติการ

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-48

      

      จาก medscape.com ปี 2018 เดือนสิงหาคม กล่าวถึงผลงานของนักศึกษาปริญญาเอก Kasun Ratnayke และคณะ จากมหาวิทยาลัย Toledo ในรัฐ Ohio พบจากการทดลองในห้อง lab พบว่า เซลส์ของจอตา (retinal cell) ไวต่อแสงสีฟ้า โดยพบว่าเซลส์ในจอตามี protein ชนิดหนึ่งชื่อ retinal ใน cell membrane ที่ถูกกระตุ้นจากแสงสีฟ้า ทำให้มี calcium ในเซลส์มากขึ้น รูปร่างเซลส์เปลี่ยนไป มีการตายของเซลส์นั้น ๆ ตามมา

      ในการทดลองนี้ใช้ cell culture ทำให้ห้องปฏิบัติการ (ไม่ได้ทำในสัตว์หรือคนโดยตรง) โดยให้กระทบแสงคลื่นสีต่าง ๆ พบว่ามีการทำลาย cell culture เฉพาะจากแสงสีฟ้าและแสง UV เท่านั้น รายงานนี้ลงไว้ใน Scientific reports เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2561 อย่างไรก็ตามผู้รายงานให้ข้อคิดไว้ว่า จากผลการทดลองนี้ไม่ได้หมายความว่า แสงสีฟ้าจากเครื่อง digital device ทั้งหลายจะมีอันตรายต่อตาคน เพราะไม่ได้ลงลึกถึงทดลองในตาคนจริง ๆ อีกทั้ง intensity ของแสงสีฟ้าที่ใช้ในการทดลอง อาจไม่เท่ากับแสงสีฟ้าที่ออกจากเครื่องเหล่านั้น เพียงให้ข้อคิดว่าแสงสีฟ้าอาจจะมีอันตรายต่อจอตาคนเรา

      ยังมีข้อคิดที่ทราบกันอยู่ว่าแม้แสงสีฟ้าจะผ่านกระจกตา (บางรายงานว่าในกระจกตาปกติมีเซลส์ที่จะดูดแสงสีฟ้าได้บ้าง) แก้วตาที่ปกติไปถึงจอตาคนเราได้ก็จริง แต่กระบวนการผ่านไปเป็นอย่างไร มีการหักเหสะท้อนกลับได้บ้างไหม คงต้องศึกษากันในรายละเอียดต่อไป นอกจากนั้นหากแก้วตาคนเราที่อายุมากขึ้น จะมีสีเหลืองก็จะดูดแสงสีฟ้าไว้ไม่ให้ผ่านเข้าจอตาได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งในจอตาคนเรามี luteal pigment ในเซลส์รับรู้การเห็นจะดูดซึมแสงสีฟ้าไว้ได้ในระดับหนึ่ง เป็นการป้องกันจอตามิให้สัมผัสแสงสีฟ้าได้บ้าง

      โดยทั่วไป จักษุแพทย์มักจะแนะนำเพียง

      1. ใช้แว่นกันแดดในที่มีแสงจ้า เช่น ขับรถบนถนนกลางแดด บริเวณริมหาด นอกจากต้องเคลือบกัน UV ควรเลือกสีเทาเข้มหรือน้ำตาล เพราะช่วยกันแสงสีฟ้าและคลื่นแสงที่อาจเข้าถึงจอตาได้บ้าง

      2. การใช้ filter หน้าจอคอมพิวเตอร์ช่วย ในปัจจุบัน มี computer software ชื่อ Flux ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับหน้าจอให้ห่างจากแสงสีน้ำเงิน มาใช้แสงทางสีแดงเขียวจะปลอดภัยกว่า