เมนูอาหารลดเค็ม:ตอนที่ 2 (Low salt diet:Part 2)

บทความที่เกี่ยวข้อง


เมนูอาหารลดเค็มตอนที่2

บทนำ

เมนูอาหารลดเค็ม(Low salt diet) เป็นเมนูที่ลดโซเดียม (Sodium)ในอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิด โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง/โรคไตเรื้อรัง โดยในหัวข้อเมนูอาหารลดเค็มจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนด้วยกัน โดยตอนที่ 1 กล่าวถึง 5 เมนูด้วยกันคือ ส้มตำปลาร้า น้ำพริกหนุ่ม ผัดไทยกุ้งสด ข้าวราดหน้าผัดกะเพราไก่ และกล้วยบวชชี ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในอีกบทความ ในเว็บ haamor.com บทความชื่อ ‘อาหารลดเค็ม ตอน1’

สำหรับ อาหารลดเค็มตอนที่ 2 จะกล่าวถึงในบทความนี้ โดยประกอบด้วย 5 เมนูคือ แกงเหลืองไหลบัวใส่กุ้งสด แกงลาว ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล้กน้ำหมูพลังเห็ด แกงเขียวหวานไก่ และน้ำพริกอ่อง

อาหารลดเค็มคืออะไร?

อาหารลดเค็ม ในที่นี้หมายถึง อาหารที่มีโซเดียมลดลงจากอาหารทั่วไป โดยในบทความนี้จะบอกทั้งสูตรและเคล็ดลับการทำอย่างละเอียด เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ นำไปทำได้ง่าย และมีรสชาติที่อร่อย

อาหารลดเค็มสำคัญอย่างไร?

เมื่อทานอาหารรสชาติเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง จะส่งผลกระทบต่อร่างกายดังนี้

1. โรคความดันโลหิตสูง:

การทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ทำให้โซเดียมในร่างกายมีมากเกินไป ไตจะขับโซเดียมออกทางนํ้าปัสสาวะ ถ้าไตขับออกไม่หมด โซเดียมก็จะคั่งในร่างกาย ทำให้เกิดการดึงนํ้าออกจากเซลล์ (Cell) มากขึ้น ส่งผลมีปริมาณของเหลว/น้ำ ไหลเวียนในร่างกายมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งเมื่อความดันโลหิตสูงมากเป็นระยะเวลานาน จะมีความเสี่ยงเรื่องโรคหลอดเลือดสมองชนิดหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตได้

2. โรคไตวายเรื้อรัง:

การทานอาหารที่มีโซเดียมสูงจะทำให้ไตทำงานหนัก เนื่องจากไตมีหน้าที่ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายส่งผลให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น นอกจากนี้การที่มีความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดการเสื่อมของไตเร็วขึ้น และเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้

ดังนั้นการทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายเรื้องรังได้

เมนูที่นำเสนอในบทความนี้จะเปรียบเทียบระหว่างสูตรดั้งเดิมคือสูตรที่ยังไม่ได้ปรับลดโซเดียม และสูตรดัดแปลงที่มีการปรับลดปริมาณโซดียมลง โดยในตางรางได้เปรียบเทียบปริมาณโซเดียมระหว่างสูตรดั้งเดิม กับสูตรดัดแปลง(สูตรที่ลดโซเดียมคือ สีแดง)ดังต่อไปนี้

สรุป

การทานอาหารที่ถูกต้อง ไม่ใช่การอด หรืองด แต่เป็นการค่อยๆปรับลดสารอาหารที่เกินความต้องการของร่างกายลง อาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายก็มีรสชาติอร่อยได้ แม้โซเดียม (Sodium) เป็นแร่ธาตุธรรมชาติที่จำเป็น แต่หากได้รับมากเกินกว่าความต้องการของร่างกายจะทำให้เกิดโทษ ดังนั้นการบริโภคอาหารลดเค็ม(ลดโซเดียม) จะช่วยให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้

บรรณานุกรม

  1. Thailand Ministry of Public Health and the U.S. Centers for Disease Control and Prevention Collaboration. (2557). เมนูสุขภาพลดเค็มลดมัน. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
  2. วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ. (2558). โซเดียมปีศาจร้ายทำลายสุขภาพ. โครงการลดการบริโภคเค็ม (โซเดียม) ในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กรุงเทพมหานคร.
  3. บทที่ 6 วิตามิน แร่ธาตุและน้ำ www.facagri.cmru.ac.th/2013/wp-content/uploads/.../6วิตามิน-แร่ธาตุ-น้ำ.pdf [2018,Oct6]
  4. ลดโซเดียม ยืดชีวิต. tnfc.fda.moph.go.th/file/fileDoc/2015-04-29_6645.pdf [2018,Oct6]