เพมฟิกัสที่ทรมาน (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เพมฟิกัสที่ทรมาน-3

      

      ยาที่ใช้รักษา (ต่อ)

  • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เช่น ยา Azathioprine หรือ ยา Mycophenolate mofetil ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ที่ดี อย่างไรก็ดียากลุ่มนี้ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สูง
  • การรักษาโดยชีวบำบัด (Biological therapies) เช่น การฉีดยา (Rituximab) เพื่อช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างสารภูมิต้านทาน (Antibodies) ต่อโรคเพมฟิกัส ในกรณีที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล
  • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาต้านไวรัส (Antivirals) และยาต้านเชื้อรา (Antifungal) อาจใช้เพื่อควบคุมหรือป้องกันการติดเชื้อ
  • ยาอื่นๆ ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ยา Dapsone และการใช้แอนติบอดีในรูปแบบการฉีดเข้าหลอดเลือด (Intravenous immunoglobulin = IVIG)
  • การดูแลบาดแผล (Wound care) ที่เป็นตุ่มพองและเจ็บ

      และบางครั้งการรักษาโรคเพมฟิกัสอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดย

  • การให้สารน้ำ (Fluids) เพราะการเจ็บปวดที่ผิวหนังอาจทำให้มีการสูญเสียสารน้ำในร่างกาย จึงต้องมีการชดเชยด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือด (Intravenously)
  • การให้อาหารทางหลอดเลือด (Intravenous feeding) อาจจำเป็นในกรณีที่อาการเจ็บปากทำให้กินไม่ได้ ซึ่งจะมีการใส่สายยางผ่านจมูกเข้ากระเพาะอาหาร (Nasogastric tube)
  • การให้ยาระงับความรู้สึก (Anesthetic) ที่ปาก เพื่อช่วยควบคุมอาการปวดของอาการเจ็บปาก
  • การเปลี่ยนถ่ายเลือด (Therapeutic plasmapheresis) มีการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา (Plasma) เพื่อขจัดแอนติบอดีที่ทำลายผิวหนัง
  • Extracorpeal photochemotherapy ซึ่งเป็นการนำเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมารักษาด้วยยาที่เรียกว่า Psoralen ร่วมกับแสงอัลตราไวโอเลต (UVA light) เพื่อฆ่าเชื้อในเซลล์เม็ดเลือดขาว หลังจากนั้นจึงนำเลือดที่รักษาแล้วกลับเข้าสู่ร่างกาย โดยการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังการรักษาในแต่ละวัน

      ในส่วนของการดูแลตัวเองนั้นสามารถทำได้ด้วยการ

  • ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ในการทำแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อและเป็นแผลเป็น
  • กินยาตามแพทย์สั่ง เพราะการหยุดหรือเปลี่ยนยาอาจเป็นสาเหตุให้อาการแย่ลง
  • ทำความสะอาดผ้าเช็ดตัว ผ้าปูเตียง และเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และไม่ใช้สิ่งเหล่านี้ร่วมกับผู้อื่น
  • ปกป้องผิวด้วยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำร้ายแผลหรือทำให้แผลติดเชื้อ เช่น การเล่นกีฬา การอาบน้ำร้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่ไปกระตุ้นแผลพุพอง เช่น กระเทียม หัวหอม และ อาหารชนิดแข็ง
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะรังสีอัลตราไวโอเลตอาจกระตุ้นให้เกิดตุ่มพองใหม่ได้
  • พบทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาสุขภาพฟันในกรณีที่มีแผลพุพองในปาก
  • หากเกิดที่บริเวณตา ควรใส่แว่นตาเพื่อป้องกันแสง และพบจักษุแพทย์
  • เนื่องจากคอร์ติโคสเตียรอยด์มีผลกระทบกับแคลเซียมและวิตามินดีในร่างกาย ดังนั้นอาจปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการเพิ่มสารดังกล่าว

แหล่งข้อมูล:

  1. Pemphigus.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pemphigus/symptoms-causes/syc-20350404 [2018, April 17].
  2. Pemphigus. https://www.aad.org/public/diseases/painful-skin-joints/pemphigus [2018, April 17].