เบซัลแกงเกลีย (Basal ganglia)

เบซัลแกงเกลีย เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จึงเป็นสมองส่วนที่สำคัญมาก เพราะชีวิตเราต้องมีการเคลื่อนไหวที่ดี จึงจะทำให้มีคุณภาพชีวิต ลองมาศึกษาดูครับว่า สมองส่วนนี้เป็นอย่างไร

เบซัลแกงเกลีย เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนหน้า (Forebrain) ในส่วนที่อยู่ใต้ต่อเนื้อสมองส่วนนอก/คอร์เทกซ์ (Cerebral cortex)/ส่วนที่อยู่ตื้นๆ ซึ่งก็คืออยู่ในส่วนลึกของสมองนั่น เอง

เนื่องจากสมองส่วนเบซัลแกงเกลีย เป็นกลุ่มของศูนย์ประสาทของเซลล์ประสาทที่อยู่ใต้คอร์เท็กซ์ (Subcortical nuclei) ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ Caudate nuclei, Putamen และ Globus pallidus ทั้งหมดมีบทบาทในการควบคุมการเคลื่อนไหว, ความตึงตัวของกล้าม เนื้อ (Muscle tone), ประสานงานด้านการเคลื่อนไหว, และความจำ ด้านกิจกรรม ความชำนาญต่างๆ และด้านการเคลื่อนไหว

เนื่องจากสมองเบซัลแกงเกลีย ทำหน้าที่ด้านการเคลื่อนไหว เมื่อมีความผิดปกติ จึงมีอา การเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น สั่น เกร็ง บิด ขยับตลอดเวลา และอาการอ่อนแรง เป็นอัมพาต

โรค/ภาวะผิดปกติที่พบบ่อยที่เกิดกับเบซัลแกงเกลีย เช่น โรคหลอดเลือดสมองชนิดที่หลอดเลือดแตกจากภาวะความดันโลหิตสูง, โรคเคลื่อนไหวผิดปกติแต่กำเนิด, ภาวะสมองขาดออกซิเจน, ภาวะโลหะทองแดงสะสมบริเวณสมองและตับ (โรค Wilson’s), โรคพาร์กินสัน (ที่จริงแล้วโรคนี้มีความผิดปกติบริเวณสมองส่วนที่เรียกว่า Substantia nigra ซึ่งขาดสารที่เรียกว่า โดปามีน (Dopamine) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเบซัลแกงเกลีย)

ดังนั้น การควบคุมรักษาความดันโลหิตสูงให้ได้ดี และระมัดระวังไม่ให้ศีรษะได้รับการกระ ทบกระเทือน/อุบัติเหตุรุนแรงที่ศีรษะ จึงสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติ/โรคที่เบซัลแกงเกลียลงได้