เตือนผลกระทบดื่มน้ำแร่ทุกวัน (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ศูนย์นักท่องเที่ยวใจกลางเมืองในยุโรปบางแห่ง ได้เจริญเติบโตในสถานที่แวดล้อมด้วยแหล่งน้ำแร่ ตั้งแต่อดีตกาล อาทิ ประเทศฮังการี บัลกาเรีย สาธารณเชค ฝรั่งเศส อาเมเนีย รัสเชีย เบลเยี่ยม เบลเยี่ยม โปแลนด์ สาธารณรัฐจอร์เจีย อังกฤษ และยูเครน

รูมาเนีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ผลประโยชน์มาก เพราะเป็นเจ้าของน้ำแร่และน้ำพุร้อนประมาณ 1 ใน 3 ของยุโรป จึงมีการพัฒนสถานพักผ่อนเหล่านี้มาแต่โบราณ พัฒนาการต่างๆ ของการท่องเที่ยว ยังผลให้เกิดเมืองสปา (Spa towns) และโรงแรมรักษาโรคด้วยน้ำหรือ “อุทกบำบัด” (Hydropathic hotels) ซึ่งมีเรียกกันย่อๆ ว่า "Hydros"

คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration : FDA) ได้จัดกลุ่มประเภทน้ำแร่ โดยให้นิยามว่า น้ำแร่ต้องมีแร่ธาตุไม่น้อยกว่า 250 ส่วนต่อล้านส่วน และต้องมาจากพื้นดิน หรือแหล่งน้ำใต้ดิน ไม่มีการเติมแร่ธาตุเพิ่มเติมในน้ำแร่เหล่านี้

ในสหภาพยุโรป จะเรียกน้ำดื่มบรรจุขวดว่าน้ำแร่ เมื่อน้ำดื่มถูกบรรจุจากแหล่งน้ำแร่ และไม่ผ่านกระบวนการอะไรเลย อาจยอมให้มีการขจัดแร่ธาตุ เหล็ก แมกกานีส ซัลเฟอร์ และ สารหนู โดยผ่านกระบวนการดูดจับสาร การกรอง และผ่านโอโซน เพื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำแร่

ในน้ำแร่ จะไม่มีการเพิ่มเติมสารอะไรนอกจาก คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอาจถูกเติม ขจัดออก หรือใส่เพิ่มเติมใหม่โดยวิธีทางกายภาพ ไม่มีการผ่านการฆ่าเชื้อ และไม่เติมสารยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Bacteriostatic agents) นอกจาก นี้เคยมีบางการศึกษาแนะว่า ผู้ที่ควรดื่มน้ำแร่ คือ

  • ผู้หญิงวัยทอง ต้องการสร้างกระดูก
  • คนที่ดื่มนมวัวไม่ได้ จะได้แคลเซียมจากน้ำแร่แทน
  • เด็กน้อยที่กำลังโต เนื่องจากมีงานวิจัยหนึ่งพบว่า ธาตุแคลเซียมในน้ำแร่ดูดซึมได้ดีกว่าจากนมวัวสด
  • ช่วยป้องกันฟันผุได้

อีกทั้งยังพบว่า น้ำแร่บริสุทธิ์นั้น ไม่พบรายงานการติดเชื้อท้องเสียจากการดื่มน้ำแร่ แต่การดื่มน้ำแร่ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน อาทิเช่น

  • เกลือโซเดียมในน้ำแร่ อาจทำให้คนวัยทองมีความดันโลหิตสูงขึ้น
  • คนที่มีปัญหาเรื่องไต หรือ ทางเดินปัสสาวะ น้ำแร่อาจทำให้เกิดนิ่วอุดท่อปัสสาวะได้
  • คนที่เป็นโรคหัวใจ ต้องระวังธาตุโพแทสเซียมในน้ำแร่ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ฟลูออไรด์ ในน้ำแร่ อาจทำให้ฟันเด็กเป็นจุดด่างดำได้
  • คนท้อง ต้องระวังน้ำแร่อัดแก๊ส ทำให้ท้องอืดได้ และน้ำแร่ที่มีโลหะหนักมากอาจไปสะสมในทารกได้

โลหะหนักในน้ำแร่อาจสะสมในคนได้ เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แมงกานีส ซีลีเนียม แต่น้ำดื่มที่ดีที่สุด ไม่ใช่น้ำดื่มที่ปราศจากแร่ใดๆเลย ซึ่งอย่างนั้นเรียก น้ำกลั่นไว้ใช้เติมแบตเตอร์รี่รถยนต์ แหล่งน้ำดื่มที่ดีที่สุดคือ น้ำประปา น้ำกรอง หรือ น้ำธรรมชาติ ที่ไหลเวียนอยู่เสมอไม่ใช่น้ำนิ่ง และถ้าจะดื่มน้ำแร่ ขอให้เลือกดูที่ข้างฉลากบอกปริมาณแร่ธาตุสำคัญ จะได้ไม่ต้องรับแร่ธาตุมากเกินไปจนกระตุ้นให้เกิดโรค

แหล่งข้อมูล:

  1. เตือน ผลกระทบดื่มน้ำแร่ทุกวัน เหมือนกินยาต่อเนื่อง ร่างกายเสียสมดุ - http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367636407&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, May 30].
  2. http://en.wikipedia.org/wiki/Mineral_water [2013, May 30].
  3. http://www.moe.go.th/moe/th/blog/view-blog.php?memberid=1626&blogid=951 [2013, May 30].