เด็กโง่เพราะมือถือ ? (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เด็กโง่เพราะมือถือ-3

      

      รายงานการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของคลื่นรังสีโทรศัพท์มือถือในเด็ก (ต่อ)

  • รายงานฉบับอื่นระบุว่า คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือก่อนอายุ 20 ปี จะมีความเสี่ยงสูงในการมีก้อนเนื้อที่สมองมากกว่าคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือตอนเป็นผู้ใหญ่ ทั้งนี้สันนิษฐานว่า เป็นเพราะเด็กมีเซลล์สมองที่บางกว่าผู้ใหญ่
  • นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า โทรศัพท์มือถือยังสามารถมีผลกระทบต่อพพฤติกรรมของเด็กด้วย คือจะทำให้มีปัญหาเรื่องอารมณ์และพฤติกรรม สมาธิสั้น (Hyperactive) หรือเข้ากับเด็กคนอื่นได้ยาก โดยเฉพาะร้อยละ 80 ของเด็กที่แม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะที่ตั้งครรภ์ เด็กจะมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมมากกว่าเด็กที่แม่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์

      อย่างไรก็ดีงานวิจัยนี้ยังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมอีก เพราะมีข้อโต้แย้งว่า เป็นเพราะแม่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดอาจให้ความสนใจในการเลี้ยงลูกน้อยไปก็ได้ จนทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม

  • งานวิจัยในเกาหลีระบุว่า เด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน มักเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • งานวิจัยในปี พ.ศ.2557 ระบุเกี่ยวกับเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือว่า ยิ่งเด็กอายุน้อยมากเท่าไร ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งสมองหรือมีก้อนเนื้อในสมองจะมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมน้ำลาย และเชื้ออสุจิโดนทำลาย เนื่องจากการใช้โทรศัพท์มือถือใกล้ตัว

      เนื่องจากนักวิจัยมีการโต้แย้งกันเสมอเกี่ยวกับ คลื่นรังสีโทรศัพท์มือถือว่ามีผลกระทบทำให้เป็นมะเร็งหรือทำให้มีสุขภาพอื่นๆหรือไม่ ประกอบกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีการใช้โทรศัพท์มือถือที่มากขึ้น จึงทำให้การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบจากการใช้งานมากหรือน้อยนั้นทำได้ยาก

      และเนื่องจากก้อนเนื้อในสมองหรือมะเร็งต่างๆ ใช้เวลาในการก่อตัวนานหลายปี เราคงต้องใช้เวลาในการศึกษาอีกนาน กล่าวคือ ปัจจุบันเรายังไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่นอนว่า การใช้โทรศัพท์มือถือมีความเสี่ยงและผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้น สิ่งที่เราอาจช่วยตัวเองได้ก็คือ

1. เปิดโหมดการบิน (Airplane mode) ของโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีเมื่อต้องอยู่ใกล้หญิงมีครรภ์เพื่อป้องกันคลื่นรังสี

2. ปิดระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless networks) เมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดการสัมผัสกับคลื่นรังสี เช่น เวลานอนหลับ เป็นต้น

3. ลดการใช้โทรศํพท์มือถือในที่อับ เพื่อหลีกเลี่ยงคลื่นรังสีที่มีมากขึ้นขณะใช้งาน

4. ลดจำนวนเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือ

5. ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือแนบหู ควรถือให้ห่างจากศีรษะเล็กน้อย เช่น ในกรณีของ iPhone 6s ที่แนะนำให้ผู้ใช้โทรศัพท์ถือโทรศัพท์ให้ห่างจากศีรษะอย่างน้อยประมาณ ½ นิ้ว

6. ใช้หูฟังหรือเปิดลำโพง (Speaker mode) เพื่อให้มีช่องว่างระหว่างศีรษะและตัวโทรศัพท์ หรือไม่ใช่โทรศัพท์ขณะอุ้มเด็กหรือมีเด็กนั่งใกล้ๆ ด้วย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Children and Cell Phones: Is Phone Radiation Risky for Kids?http://www.center4research.org/children-cell-phones-phone-radiation-risky-kids/ [2018, January 20].