เด็กที่ความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว (ตอนจบ)

จากบทความตอนที่แล้ว ได้ปิดท้ายด้วย ลักษณะของเด็กที่มีภาวะความพิการทางสมอง ซึ่งบทความตอนนี้จะกล่าวต่อว่าลักษณะของเด็กที่มีภาวะความพิการทางสมองจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • อัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia)
  • อัมพาตในส่วนเดียวกันทั้งสองข้างของร่างกาย (Diplegia)
  • อัมพาตใช้แขนขาไม่ได้ (Quadriplegia)
  • ภาวะกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน (Ataxia)

ผู้อ่านหลายท่านอาจจะเกิดข้อสงสัยว่าสาเหตุของภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหวนั่นเกิดจากอะไร และลูกๆของเราจะเสี่ยงหรือไม่ ผู้เขียนได้สรุปสาเหตุของเกิดจากภาวะบกพร่องด้านร่างกาย ดังนี้

  • ความผิดปกติของพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
  • เป็นมาตั้งแต่เกิด เช่น แนวโค้งของกระดูกสองด้านไม่เชื่อมต่อกัน
  • การได้รับความเจ็บป่วยอย่างรุนแรงทางสมอง ประสาท และกล้ามเนื้อ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
  • สมองได้รับการกระทบกระเทือน

ดังนั้นภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหวอาจจะเกิดกับลูกๆของเราหรือคนที่เรารู้จัก หรือเด็กที่เราพบเจอในสังคม ดังนั้นผู้อ่านทุกท่านควรเข้าใจถึงการช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ดังนี้

  • สอนให้เด็กยอมรับในตัวเอง และเห็นคุณค่าของตัวเอง
  • เรียนรู้เกี่ยวกับความไร้ความสามารถของเด็กและเรียนรู้ถึงวิธีการช่วยเหลือ
  • แสดงความเห็นใจ ความเห็นอกเห็นใจ และความจริงใจ
  • เตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกเฉพาะบุคคลกับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เช่น

การจัดหาทางลาด การจัดหาที่นั่ง และอุปกรณ์เทคโนโลยี

  • ห้องส้วมควรสามารถใช้ และ เข้าออกได้ง่าย
  • หากเด็กต้องนั่งหรือคุกเข่า ควรที่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถปรับระดับให้เหมาะกับเด็ก
  • ให้โอกาสและความช่วยเหลือแก่เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
  • แต่สำหรับพ่อแม่บางท่าน อาจจะมีลูกที่มีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ซึ่งพ่อแม่จะมีวิธีการปฏิบัติต่อลูกๆ ดังนี้

    • พ่อแม่ต้องยอมรับว่าลูกมีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว โดยเริ่มจากเข้าใจธรรมชาติของโรคและขีดความสามารถของลูกของตัวเองว่าอยู่ในระดับไหน และค้นหาความสามารถของลูก เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพและความมั่นใจให้แก่ลูกของท่าน
    • คนในครอบครัวควรแบ่งเวลาดูแลลูกที่มีภาวะดังกล่าว
    • พ่อแม่ควรให้ลูกมีความรับผิดชอบและทำสิ่งต่างๆด้วยความสามารถของเขาที่มีทั้งหมด
    • พ่อแม่ควรปฏิบัติดูแลลูกให้ใกล้เคียงเหมือนเด็กทั่วไป ไม่เพิกเฉยหรือรังเกียจ และควรปลูกฝังให้ทำกิจกรรมอย่างอื่น เพื่อพัฒนาตนเอง เช่น การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา
    • พ่อแม่ควรสร้างเครือข่ายระหว่างพ่อแม่ท่านอื่นๆที่มีลูกทีมีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หรือแบ่งปันความรู้วิธีการที่ดูแลลูก

    หลังจากที่ผู้อ่านได้อ่านบทความนี้แล้ว ผู้เขียนอยากจะฝากประโยคกำลังใจให้กับผู้ที่ประสบปัญหาหรือมีลูกภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหว คือ “WE NEVER WIN BUT WE ALWAYS WIN” ซึ่งเป็นประโยคของนักกีฬาพิการชาวอเมริกัน (Rick Hoyt) ที่มีภาวะความพิการทางสมอง ถึงแม้เขาจะเดินไม่ได้ ขยับไม่ได้ แต่ใจของเขายังสู้ และมีพ่อค่อยช่วยเหลือเสมอ อย่าลืมนะคะ “WE NEVER WIN BUT WE ALWAYS WIN” ขอแค่อย่ายอมแพ้

    แหล่งข้อมูล:

    1. ชมรม'Kelab'จัดงานกระชับสัมพันธ์ AEC - http://www.komchadluek.net/detail/20131107/172257.html [2013, December 10]
    2. How to support Children with Physical Disability - http://www.edb.gov.hk/attachment/en/edu-system/special/resources/serc/pd_e.pdf [ 2013,December 10]
    3. Physical Disabilities: Understanding Physical Disabilities - http://www.lds.org/topics/disability/list/physical-disability [ 2013,December 10]
    4. Physical Disabilities -http://www.cyh.com/healthtopics/healthtopicdetails.aspx?p=114&np=306&id=1874 [ 2013,December 10]
    5. “WE NEVER WIN BUT WE ALWAYS WIN”- http://danissua.blogspot.com/2009/12/we-never-win-but-we-always-win-rick.html [ 2013,December 10]