เด็กที่ความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว (ตอนที่ 1)

เมื่อเดือนที่แล้ว นายแอนดรู นามังซึ่งเป็นประธานชมรม Kelab มาเลเซีย ประเทศไทย (Kelab Malaysia of Thailand : KMT) มีการเตรียมจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำที่โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ใน 3 เสาหลัก คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในอีกสองปีข้างหน้า ภายใต้สโลแกน “มิตรภาพไร้พรมแดน” ( Togetherness Beyond Borders)

โดยรายได้จากการจัดตั้งงานส่วนหนึ่งจะมอบให้แก่มูลนิธิชายมูฟเม้น (ZY Movement Foundation : ZMF) ซึ่งเป็นองค์กรช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวในประเทศไทย และวางแผนที่จะขยายไปสู่ประเทศสมาชิกอาเชียนซึ่งมีเด็กที่มีความบกพร่องเป็นจำนวนมาก

ก่อนอื่นเรามาทำความทำความเช้าใจเกี่ยวกับ “ความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว” เป็นความบกพร่องของขา แขน และลำตัว ที่ไม่สามารถขยับและเคลื่อนย้ายได้ตามปกติ สาเหตุที่ขยับไม่ได้เป็นเพราะ อาจจะเป็นอัมพาต ข้อฝืดขัด (Stiffness) ความเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ

เมื่อเข้าใจแล้วว่าความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวคืออะไร ต่อมาเราควรรู้จักลักษณะความการบกพร่องทางการเคลื่อนไหว มีหลายลักษณะ ดังนี้

1.1 โรคกล้ามเนื้อเสื่อม ( Muscular dytrophies) หมายถึง โครงสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายอ่อนแอ เด็กที่เป็นโรคกล้ามเนื้อเสื่อมจะมีหลากหลายลักษณะ โดยเด็กส่วนใหญ่จะเป็นโรคกล้ามเนื้อเสื่อม ประเภท Duchenne Muscular Dystrophy ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะในเด็กผู้ชาย

1.2 สมองและกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ

1.3 โครงกระดูกสองด้านไม่เชื่อมต่อกัน ( Spina bifida) เป็นความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งไขสันหลังไม่มีการพัฒนามาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กที่มีปัญหาโครงสร้างไม่เชื่อมต่อกัน จะมีลักษณะดังนี้

  • บางส่วนของขาหรือทั้งขาอัมพาต
  • ความยากลำบากในการควบคุมลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ
  • ภาวะน้ำในสมองคลั่ง
  • กระดูกผิดรูป
  • ความโค้งของกระดูกสันหลัง

1.4 ภาวะความพิการทางสมอง ( Cerebral palsy) สาเหตุเกิดจากบางส่วนของสมองถูกทำลาย เช่น การขาดออกซิเจนตอนอยู่ในครรภ์ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ การได้รับบาดเจ็บที่หัว หรือได้รับการกระทบกระเทือน เด็กที่เป็นพิการทางสมองจะมีลักษณะ ดังนี้

  • ลักษณะท่าทาง
  • การเคลื่อนตัวของบางส่วนของร่างกาย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • การชักกระตุกของกล้ามเนื้อ
  • ความเชื่อมโยง
  • การคุยและการกิน

แหล่งข้อมูล:

  1. ชมรม'Kelab'จัดงานกระชับสัมพันธ์ AEC - http://www.komchadluek.net/detail/20131107/172257.html [2013, December 9]
  2. Physical Disabilities: Understanding Physical Disabilities - http://www.lds.org/topics/disability/list/physical-disability [ 2013,December 9]
  3. Physical Disabilities -http://www.cyh.com/healthtopics/healthtopicdetails.aspx?p=114&np=306&id=1874 [ 2013,December 9]