เด็กดื้อด้านเหลือขอ (ตอนที่ 3)

เด็กดื้อด้านเหลือขอ-3

      

      ทั้งนี้ สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ตาม The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5) ถึงการวินิจฉัยว่า เด็กเป็นโรคพฤติกรรมดื้อต่อต้านหรือไม่ เด็กจะต้องมีพฤติกรรมเหล่านี้อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป

      อารมณ์โกรธและหงุดหงิด (Angry and irritable mood)

  • อารมณเสียง่ายบ่อยๆ
  • รำคาญง่าย
  • มักโกรธและไม่พอใจ (Resentful)

      พฤติกรรมชอบโต้เถียงและท้าทาย (Argumentative and defiant behavior)

  • มักทะเลาะกับผู้ใหญ่หรือผู้ดูแล
  • มักปฏิเสธหรือไม่ยอมทำตามกฏหรือสิ่งที่ผู้ใหญ่ร้องขอ
  • มักรบกวนหรือทำให้ผู้อื่นรำคาญโดยเจตนา
  • มักตำหนิผู้อื่น
  • พูดจาไม่ดี

      พยาบาทอาฆาต ผูกใจเจ็บ (Vindictiveness)

  • มักมุ่งร้าย อาฆาตแค้น
  • แสดงความพยาบาทอาฆาต ผูกใจเจ็บ อย่างน้อย 2 ครั้ง ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา

      สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคพฤติกรรมดื้อต่อต้านนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบชัด แต่อาจมาจากปัจจัยร่วมกัน เช่น

  • ด้านชีวภาพ (Biological) - เช่น สมองได้รับอุบัติเหตุ การหลั่งสารเคมีในสมองผิดปกติ มีอาการป่วยทางจิต
  • พันธุกรรม (Genetics) – มีพื้นนิสัย (Temperament) อารมณ์ หรือการทำงานของประสาทชีววิทยาที่ผิดแผกไป (Neurobiological differences) เช่น มีการสนองตอบด้วยอารมณ์อย่างมาก หรือมีปัญหาในการอดทนต่อความเครียด
  • ปัญหาเรื่องผู้ปกครอง (Parenting issues) – อาจถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ข่มเหง ไม่มีเวลาดูแลลูก
  • สภาพแวดล้อม (Environment) – เช่น เพื่อน ครู
  • ถูกทำร้ายร่างกาย
  • ถูกทำร้ายทางเพศ

แหล่งข้อมูล:

  1. Oppositional defiant disorder (ODD).https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/oppositional-defiant-disorder/symptoms-causes/syc-20375831 [2018, April 30].
  2. Oppositional Defiant Disorder Basics. https://childmind.org/guide/oppositional-defiant-disorder/what-to-look-for/ [2018, April 30].