เด็กจ้ำม่ำ น่ารักแต่ก็น่ากลัว (ตอนที่ 4)

เด็กจ้ำม่ำ น่ารักแต่ก็น่ากลัว

ผลแทรกซ้อนทางสุขภาพ (ต่อ)

  • โรคหอบหืด (Asthma)
  • มีความผิดปกติในการนอน (Sleep disorders) ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea = OSA)
  • โรคไขมันคั่งสะสมในตับ (Nonalcoholic fatty liver disease = NAFLD) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตับถูกทำลาย
  • ปัญหาเรื่องข้อต่อ (Joint problems) และระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก (Musculoskeletal discomfort) จากการที่ร่างกายต้องรับน้ำหนักตัวมาก
  • ปัญหาเรื่องผิวหนัง เช่น ผดร้อน (Heat rash) การติดเชื้อรา (Fungal infections) และสิว (Acne)
  • ประจำเดือนผิดปกติ (Menstrual irregularity) และมีบุตรยาก (Infertility)

โดยผู้ที่มีปัญหาโรคอ้วนตั้งแต่เด็กจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ที่รุนแรงกว่าคนทั่วไปเมื่อตอนโต

ผลแทรกซ้อนทางสังคมและอารมณ์

  • ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ถูกล้อเลียนและข่มเหง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหดหู่
  • มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมและการเรียนรู้ เพราะเด็กอ้วนมักจะขี้วิตกกังวลมากกว่าเด็กปกติ ทำให้เด็กมักจะแยกตัวออกจากคนอื่น

สำหรับการรักษาโรคอ้วนในเด็กนั้น ขึ้นอยู่กับอายุและสภาพทางร่างกายของเด็ก โดยส่วนใหญ่การรักษามักเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือบางกรณีอาจใช้ยาหรือการผ่าตัดช่วย โดย

การปรับพฤติกรรมการกินอาหารที่มีประโยชน์ (Healthy eating) อาจทำได้ด้วยการ

  • เลือกกินผักและผลไม้ ลดอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และแคลอรี่สูง เช่น คุ๊กกี้ ขนมปังกรอบ และอาหารสำเร็จรูป
  • จำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งรวมถึงน้ำผลไม้ที่จะทำให้เด็กรู้สึกอิ่มก่อนที่จะกินอาหารที่มีประโยชน์
  • จำกัดอาหารฟาสต์ฟู้ต ที่มีไขมันและแคลอรี่สูง
  • นั่งกินอาหารพร้อมครอบครัวและพูดคุยกัน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารขณะดูโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือเล่นเกมส์ ซึ่งจะทำให้มีพฤติกรรมที่รีบกินและไม่รู้สึกตัวถึงปริมาณที่กิน
  • กินอาหารพอประมาณ เพราะเด็กไม่จำเป็นต้องกินอาหารมากเท่าผู้ใหญ่
  • พยายามปรับเปลี่ยนอาหารที่เด็กชอบกินให้มีประโยชน์ขึ้น เช่น เด็กชอบกินเฟรนช์ฟรายส์ ก็ใช้วิธีอบแทนการทอด
  • ให้คำชมเชยกับเด็กเมื่อเด็กเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์

แหล่งข้อมูล

1. Childhood obesity. http://www.who.int/dietphysicalactivity/childhood_consequences/en/ [2017, March 29].

2. Childhood Obesity. http://www.medicinenet.com/childhood_obesity/article.htm [2017, March 29].

3. Childhood Obesity Causes & Consequences. https://www.cdc.gov/obesity/childhood/causes.html [2017, March 29].

4. Obesity in Children. http://www.webmd.com/children/guide/obesity-children#1 [2017, March 29].