ยาเซเฟม (Cephem) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหญ่ของยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้า-แลคแทม(Beta-lactam antibiotic) ยาเซเฟมยังประกอบด้วยยาอีก 2 กลุ่มย่อย คือ ยาเซฟาโลสปอริน(Cephalosporin) และยาเซฟามัยซิน(Cephamycin) ซึ่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ขอเปรียบเทียบความคล้ายและแตกต่างระหว่างยาทั้ง 2 กลุ่มย่อยดังนี้
ทั้งนี้ มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องค้นคว้าวิจัยเพิ่มจำนวนรายการของยากลุ่มนี้ ด้วยเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคมีการพัฒนาตนเองให้ทนต่อยารุ่นแรกๆทำให้การใช้ยารักษาโรคติดเชื้อ/ยาปฏิชีวนะรุ่นเดิมใช้ไม่ได้ผลและด้อยประสิทธิภาพลง นอกจากนี้ยาแต่ละตัวก็ยังมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน หรือมีข้อจำกัดที่ใช้ไม่ได้กับเชื้อโรคบางกลุ่ม รวมถึงรูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่มีทั้งแบบยาฉีดหรือยารับประทาน ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่ทำให้การรักษาโรคเห็นผลเร็วช้าแตกต่างกันออกไป
ยาเซเฟมมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
กลไกสำคัญในการออกฤทธิ์ของกลุ่มยาเซเฟมคือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารประเภทเปบทิโดไกลแคน(Peptidoglycan,สารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลและกรดอะมีโน)ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังเซลล์แบคทีเรีย ส่งผลให้แบคทีเรียหยุดการแบ่งตัว และไม่สามารถเจริญเติบโตหรือแพร่พันธุ์อีกต่อไป
อนึ่ง ยาหลายตัวในกลุ่มยาเซเฟมยังสามารถทนต่อ เอนไซม์เบต้าแลคแทม(Beta-lactamase)ของแบคทีเรียชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านยาเบต้า-แลคแทมกลุ่มเพนิซิลลิน(Penicillin) ได้อีกด้วย
ยาเซเฟมมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
ยาเซเฟมเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ใช้ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อราได้ การใช้ยาเซเฟมตัวใดต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น สิ่งสำคัญหลังจากได้รับยากลุ่มเซเฟมภายใน 1–2 วันแล้วอาการดีขึ้น ผู้ป่วยยังคงต้องได้รับยานี้ต่อเนื่องจนครบเทอมการรักษา เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค
ขนาดการใช้ยา/การบริหารยาเซเฟมในผู้ใหญ่และเด็กก็มีความแตกต่างกันออกไป แพทย์จะใช้ น้ำหนักตัว อายุ สภาพการทำงานของตับ ของไต และประวัติโรคประจำตัวผู้ป่วยมาเป็นเกณฑ์พิจารณาการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่รวมถึงขนาดยานี้ด้วย
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยาเซเฟม ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
กรณีลืมรับประทานยาเซเฟม สามารถรับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ หากเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ห้ามเพิ่มขนาดรับประทานเป็น 2 เท่า ให้รับประทานยาที่ขนาดปกติเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องได้รับยาเซเฟมต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง จึงจะเกิดประสิทธิผลของการรักษา
ยาเซเฟมสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆของร่างกายดังนี้ เช่น
มีข้อควรระวังการใช้ยาเซเฟม เช่น
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา”ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุ บันทุกชนิด(รวมยากลุ่มเซเฟมด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ
ยาเซเฟมมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
ควรเก็บรักษาเซเฟมดังนี้
ยาเซเฟม มียาชื่อการค้าและบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Cefoxin (เซโฟซิน) | M & H Manufacturing |
Cefxitin (เซฟซิทิน) | Siam Bheasach |
CEFOTAN (เซโฟแทน) | GlaxoSmithKline |
Cedax (ซีแดกซ์) | MSD |
Cef-3 (เซฟ-3) | Siam Bheasach |
Cef-4 (เซฟ-4) | Siam Bheasach |
Cefadin (เซฟาดิน) | Atlantic Lab |
Cefamax (เซฟาแม็กซ์) | Siam Bheasach |
Cefamezin (เซฟาเมซิน) | Astellas Pharma |
Cefazillin (เซฟาซิลลิน) | T P Drug |
Cefazol (เซฟาซอล) | General Drugs House |
Cefazolin Meiji (เซฟาโซลิน เมจิ) | Meiji |
Cefclor T P (เซฟคลอร์ ทีพี) | T P Drug |
Cef-Dime (เซฟ-ไดม์) | Millimed |
Cefmandol (เซฟแมนดอล) | General Drugs House |
Cefobid IM/IV (เซโฟบิด ไอเอ็ม/ไอวี) | Pfizer |
Cefodime (เซโฟไดม์) | L. B. S. |
Cefomic (เซโฟมิก) | L. B. S. |
Ceforan (เซโฟแรน) | General Drugs House |
Cefox (เซฟอกซ์) | Utopian |
Cefoxin (เซโฟซิน) | M & H Manufacturing |
Cefozone (เซโฟโซน) | Atlantic Lab |
Cefspan (เซฟสแปน) | Astellas Pharma |
Ceftime (เซฟไทม์) | Utopian |
Ceftrex (เซฟเทร็กซ์) | Biolab |