เซลลล์ต้นกำเนิด ทำให้เกิดทางเลือกใหม่ (ตอนที่ 3)

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยจัดให้มีการแถลงข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวช วิทยา ได้ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกในการคิดค้นการแยกเซลลล์ต้นกำเนิดบริสุทธิ์จากน้ำคร่ำขึ้น ซึ่งนับเป็นผลงาน ที่ภาคภูมิใจต่อวงการแพทย์ไทยในระดับโลก

ต่อเนื่องจากที่กล่าวไว้ถึงเรื่องเซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำ (Amniotic fluid stem cells: AFS) ว่าเป็นแหล่งทรัพยากร แห่งใหม่สำหรับการรักษาโรคในอนาคต (Therapeutic potential) ในตอนนี้จะกล่าวถึงการรักษาโรคหัวใจและโรคอื่นๆ ที่เซลล์ต้นกำเนิดจะมีบทบาทใน ช่วยรักษาต่อไป (ในอนาคต)

เซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำมีคุณสมบัติปกป้องหัวใจหลังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เซลล์ต้นกำเนิดหลากหลายชนิดได้รับการระบุลักษณะพิเศษ และมีการตรวจสอบ ค้นคว้าเกี่ยวกับความสามารถในการซ่อมแซม และฟื้นฟูเซลล์หัวใจของเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านั้น

มีกรณีศึกษาทดลองเกี่ยวกับความสามารถในการรักษาของเซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำมนุษย์ ในแบบจำลองภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยให้หนูทดลองผิวเผือก (Wistar rat) อยู่ในภาวะขาดเลือด (Ischemia) เฉพาะบริเวณหลอด เลือดแดง ที่หัวใจด้านหน้าทางซ้าย เป็นเวลา 30 นาที

จากนั้น ตามด้วยการบริหารจัดการเซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำมนุษย์ และการฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดกลับไปยัง อวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่ทางเดินเลือดถูกตัดขาด เช่น หลังจากภาวะหัวใจวาย ขนาดของบริเวณเนื้อที่ตายเนื่องจากขาดเลือดนั้น ถูกประมาณค่าด้วยวิธีการติดสี ที่เรียกว่า Staining และวิธีการวัดตัวคงค่าในพื้นที่ ที่เรียกว่า Planimetry

เซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำมนุษย์ ยังถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีการทดสอบศักยภาพของสารภูมิต้านทาน (Antibody) ที่ เชื่อมโยงกับเอนไซม์ และ สารก่อภูมิต้านทานบางตัว (Immunosorbent assay) เพื่อตรวจหาการหลั่ง (Secretion) ของปัจจัย การทำหน้าที่ของต่อมไร้ท่อ ชนิดที่เรียกว่า ต่อม Paracrine ซึ่ง ผลของฮอร์โมนนั้นจะจำกัดอยู่ที่เซลล์บริเวณใกล้เคียงเท่านั้น

ในการฉีดเซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำมนุษย์เข้าในร่างกาย สารที่ได้มาจากเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านั้น มีคุณสมบัติ ช่วยในการอยู่รอดของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และลดขนาดเนื้อที่ตายเพราะขาดเลือดลงจาก 53.9%±2.3% (ในกลุ่มสัตว์ทดลอง ที่ได้รับ การฉีดน้ำเกลือฟอสเฟต) เหลือ 40.0%±3.0%

นอกจากนี้ เซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำมนุษย์ ยังแสดงให้เห็นถึงการหลั่งสารโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์หัวใจ ผลการทดลองในหนู แสดงให้เห็นว่า เซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้

ดังนั้น เซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำ จึงอาจเป็นตัวแทนของแหล่งกำเนิดแห่งใหม่ของการรักษาโรคด้วยเซลล์ และกลไกการปลูกถ่าย (Transplantation) เซลล์ที่สึกหรอจากโรคหัวใจขาดเลือด แถมพ่วงกลไกการปฏิบัติงานที่เป็นไปได้ของ ต่อมไร้ท่อชนิดที่ผลของฮอร์โมนจะจำกัดอยู่ที่เซลล์บริเวณใกล้เคียงเท่านั้น และในระดับโมเลกุลที่มีศักยภาพสำหรับการป้องกันเซลล์หัวใจ (Cardio-protection) ที่ขาดเลือดแบบเฉียบพลันด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. “ศิริราช” เตรียมแถลงผลสำเร็จ แยกเซลลล์ต้นกำเนิดบริสุทธิ์จาก “น้ำคร่ำ” ครั้งแรกของโลก http://www.naewna.com/local/25835 [2012, October 20].
  2. Amniotic fluid stem cells are cardio-protective following acute myocardial infarction. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21534857 [2012, October 20].