ยาเซฟามัยซิน (Cephamycin) เป็นยาปฏิชีวนะในยากลุ่มเบต้า-แลคแทม(Beta lactam)ที่มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) แต่มีความแตกต่างกันตรงที่โครงสร้างของยาเซฟามัยซินจะมีหมู่สารเมทอกซี(-OCH3)เป็นส่วนประกอบอยู้ด้วย กลุ่มยาเซฟามัยซินผลิตได้จากแบคทีเรีย แอคติโนแบคทีเรีย(Actinobacteria)ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อรา โดยยาเซฟามัยซินสามารถใช้ต่อต้านแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาเพนิซิลลิน(Penicillin) โดยแบคทีเรียดังกล่าวจะมีเอนไซม์ ชื่อ เบต้า-แลคแทมเมส(Beta-lactamases) ที่คอยทำลายโครงสร้างของยาเบต้า-แลคแทม จากโครงสร้างและคุณสมบัติดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดให้อนุพันธ์ยาเซฟามัยซิน มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับยาเซฟาโลสปอรินรุ่นที่ 2 มากที่สุด โดยสามารถต่อต้านแบคทีเรียที่ก่อโรคดังนี้ เช่น Streptococcus, E.Coli, Salmonella, Proteus vulgaris, Flavobacterium, Klebsiella, Enterococci, Listeria monocytogenes, Enterobacter, และ Bacteroides
อย่างไรก็ตาม ทางคลินิกพบว่ายาเซฟามัยซินมีประสิทธิภาพต่อต้านแบคทีเรียแกรมบวกกลุ่มคอกไค(Gram-positive cocci)ได้น้อยกว่ายาเซฟาโลสปอรินรุ่นที่ 1 ปัจจุบันเราสามารถพบเห็นการใช้ยาเซฟามัยซิน ดังนี้
1 Cefoxitin: มีฤทธิ์ต่อต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมลบและแกรมบวก (Gram-negative and Gram-positive) รวมถึงกลุ่มแอนแอโรบ(Anaerobes) ซึ่งเป็น สาเหตุของโรคติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ผิวหนัง กระดูก ระบบทางเดิน หายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยมีกลไกออกฤทธิ์ที่ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย โดย รูปแบบของยาแผนปัจจุบันจะเป็นยาฉีดชนิดผง และมีจำหน่ายในประเทศไทย
2 Cefotetan: มีฤทธิ์ต่อต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมลบและแกรมบวก(Gram-negative and Gram-positive) รวมถึงกลุ่มแอนแอโรบ(Anaerobes) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อที่ ผิวหนัง กระดูก ไต ระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินปัสสาวะรวม ถึงใช้เป็นยาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการผ่าตัด ในต่างประเทศจะรู้จักยานี้ภายใต้ชื่อการค้าว่า Cefotan
3 Cefmetazole : มีการออกฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียได้ทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบ แอนแอโรบิคแบคทีเรีย รวมถึงกลุ่มแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาเซฟาโลสปอรินรุ่นที่1 สามารถพบเห็นยานี้ภายใต้ชื่อการค้าว่า Zefazone
ยาเซฟามัยซิน จัดเป็นกลุ่มยาอันตราย การใช้ยากลุ่มนี้ได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย จึงต้องเป็นหน้าที่ของแพทย์แต่ผู้เดียว ซึ่งหากผู้ป่วยมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลการใช้ยานี้ได้จากแพทย์ที่ทำการรักษาหรือจากเภสัชกรได้ทั่วไป
อนึ่ง Cephamycin มีแยก subgroup เป็น Cephamycin A , Cephamycin B, และ Cephamycin C แต่ที่โดดเด่นและสามารถนำมาใช้เป็นยา จะเป็น Cephamycin C ซึ่งประกอบด้วยยา Cefoxitin, Cefotetan, และ Cefmetazole ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงยา Cephamycin จึงหมายถึงยา Cephamycin C
ยาเซฟามัยซินมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
ยาเซฟามัยซิน มีกลไกการออกฤทธิ์โดย ตัวยาจะยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ส่งผลให้แบคทีเรียหยุดการแบ่งตัว ไม่สามารถเจริญเติบโต หรือแพร่พันธุ์ อีกต่อไป และยาเซฟามัยซินยังสามารถทนต่อเอนไซม์เบต้าแลคแทมเมสของแบคทีเรียซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านยาเบต้า-แลคแทมกลุ่มเพนิซิลลินได้อีกด้วย
ยาเซฟามัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
ด้วยยาเซฟามัยซินเป็นยาฉีด จึงพบเห็นการใช้แต่เฉพาะในสถานพยาบาล ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่และในเด็กมีความแตกต่างกัน โดยแพทย์จะใช้เกณฑ์ของ น้ำหนักตัวผู้ป่วย ความรุนแรงของโรค ตลอดจนกระทั่งประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยมาประกอบการคำนวณขนาดยากับผู้ป่วยเป็นกรณีๆไป
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยาเซฟามัยซิน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
ยาเซฟามัยซินสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆ ดังนี้ เช่น
มีข้อควรระวังการใช้ยาเซโฟซิติน เช่น
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา”ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยากลุ่มเซฟามัยซินด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ
ยาเซฟามัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
ควรเก็บยาเซฟามัยซิน ตามคำแนะนำในเอกสารกำกับยา ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาเซฟามัยซิน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Cefoxin (เซโฟซิน) | M & H Manufacturing |
Cefxitin (เซฟซิทิน) | Siam Bheasach |
Cefotan (เซโฟแทน) | GlaxoSmithKline |
Zefazone (เซฟาโซน) | Upjohn |