เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

กล่าวโดยทั่วไปมีปฏิกิริยา 4 แบบ ของเชื้อจุลชีพที่ก่อให้เกิดการดื้อต่อยาฆ่าเชื้อดังนี้

  1. เชื้อจุลชีพทำให้ยาหมดฤทธิ์และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตัวเอง เช่น การทำให้เอนไซม์ (Enzyme) ไม่ออกฤทธิ์ของยาเพนนิซิลิน (Penicillin) ในเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลิน
  2. เชื้อจุลชีพเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่จับ ไปยังเซลล์เป้าหมายของเพนนิซิลิน ในเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลิน อื่นๆ
  3. เชื้อจุลชีพเปลี่ยนแปลงกระบวนการเผาผลาญอาหาร เช่นแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) ไม่ต้องการตัวยาสำคัญ (Precursor) เพื่อการสังเคราะห์กรดเชิงซ้อน (Folic acid and nucleic acid)
  4. เชื้อจุลชีพลดการสะสมยาโดยลดการซึมผ่าน (Permeability) ของยา และ หรือเพิ่มการขับออก (Efflux)) ของยาผ่านผิวหนังเซลล์

ในการรักษานั้น เราสามารถลดโอกาสการดื้อยาให้น้อยลง โดยการใช้ยาหลายตัวในเวลาเดียวัน เนื่องจากการกลายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิดไม่ขึ้นต่อกัน และต้านทานยาได้ 1 ตัวเท่านั้นในระยะเวลาหนึ่ง ถ้าแบคทีเรียแต่ละชนิดยังคงถูกฆ่าโดยยาอื่นๆ แล้ว การกลายพันธุ์ก็ไม่สามารถคงอยู่ต่อไป

การใช้วิธีการนี้ ประสบความสำเร็จในยารักษาวัณโรค อย่างไรก็ตาม การรักษายังเป็นปัญหาในกรณีการดื้อยาข้ามสายพันธุ์ (Cross resistance) ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ ที่ส่งผลให้ดื้อยา 2 ชนิดหรือมากกว่า สำหรับการดื้อยาปฏิชีวนะ (Antibiotic resistance) ซึ่งเป็นปัญหาแพร่กระจายไปทั่วในวันนี้ เราสามารถทำลายแบคทีเรียที่ดื้อยาได้โดยใช้ไวรัสในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Bacteriophage) เรียกชื่อว่า “Phage therapy”

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์นั้น การป้องกันทำได้โดยทุกคนต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือใช้แอลกอฮอล์ลูบมือ ก่อนและหลังให้การดูแลผู้ป่วย มาตรการเสริมได้แก่ การสวมเครื่องป้องกันก่อนเข้าไปดูแลผู้ป่วย โดยสวมถุงมือและเสื้อคลุม ตลอดจนการทำความสะอาดห้องพักและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยความระมัดระวัง

สำหรับผู้ป่วยนั้นสามารถป้องกันตนเอง โดยล้างมือบ่อยๆ รวมถึงญาติหรือผู้ที่เข้าเยี่ยม ต้องล้างมือก่อนและหลังออกจากห้องเยี่ยมไข้ที่หอผู้ป่วยทุกครั้งดัวย ส่วนการให้การรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง แล้วให้การรักษาที่รวดเร็ว เพราะถ้ามีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ยาวนาน ก็จะมีส่วนกระตุ้นให้เชื้อโรคนั้นดื้อยาได้อีกเช่นกัน

เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด อาทิรับประทานยาปฏิชีวนะจนครบตามแพทย์สั่ง ไม่มีการหยุดยาก่อนกำหนด และไม่ซื้อยามารับประทานเอง การเตรียม ปรุง และรับประทานอาหาร ต้องระมัดระวังความสะอาด รวมทั้งหลังเข้าห้องน้ำ หลังสั่งน้ำมูก ไอหรือจาม ตลอดจนหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนูหรือใบมีดโกนร่วมกัน นอกจากนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการดื้อยา เพื่อจะได้รับการดูแลทั้งการรักษาและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคดื้อยา อย่างเหมาะสม

แหล่งข้อมูล

  1. ทำอย่างไร! เมื่อเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล - http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000033764&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2013, April 11]
  2. Drug resistance. http://en.wikipedia.org/wiki/Drug_resistance [2013, April 11]