เจ็บลึก เจ็บนาน (ตอนที่ 4)

เจ็บลึกเจ็บนาน-4

      

      ส่วนเหตุการณ์ที่นำไปสู่ภาวะ PTSD ที่เกิดมาก ได้แก่

  • สงคราม
  • การกระทำทารุณต่อเด็ก
  • การล่วงละเมิดทางเพศ
  • การถูกทำร้ายร่างกาย
  • การถูกข่มขู่ด้วยอาวุธ
  • การเกิดอุบัติเหตุ
  • ไฟไหม้
  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

      PTSD มีผลกระทบต่อชีวิต ทั้งการงาน ความสัมพันธ์ สุขภาพ และการทำกิจกรรม และ PTSD ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการมีปัญหาทางจิต เช่น

  • สิ้นหวัง ละอายใจ
  • ซึมเศร้าหดหู่และวิตกกังวล
  • มีการเสพยาหรือแอลกอฮอล์
  • มีความผิดปกติในการกินอาหาร (Eating disorders)
  • มีอาการทางกายหรือปวดเรื้อรัง
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เช่น การหย่าร้าง
  • มีความคิดและต้องการที่จะฆ่าตัวตาย

      หลังจากที่ได้รับความช่วยเหลือจากเหตุการณ์ภยันตรายมาแล้ว หลายคนจะมีอาการ PTSD เช่น ไม่สามารถหยุดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น กลัว วิตกกังวล โกรธ ซึมเศร้า ละอายใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการตอบสนองต่อภยันตรายนั้นๆ อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่ที่ประสบกับภยันตรายก็ไม่ได้เป็น PTSD ในระยะยาวทุกคน หากได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาจากครอบครัว เพื่อนฝูง ที่ช่วยรับฟังและเป็นกำลังใจให้

      ซึ่งในการวินิจฉัยของแพทย์มักจะทำด้วยการ

  • ตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของอาการ
  • ประเมินทางจิตวิทยา (Psychological evaluation)
  • ใช้หลักเกณฑ์ DSM-5 (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ของสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association)

แหล่งข้อมูล:

  1. Post-traumatic stress disorder (PTSD).https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/post-traumatic-stress-disorder/symptoms-causes/syc-20355967 [2018, July 26].
  2. Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD). https://www.helpguide.org/articles/ptsd-trauma/ptsd-symptoms-self-help-treatment.htm [2018, July 26].