เครื่องมือทำแท้ง แจ้งเกิดที่ร้านยา (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

การขยาย (Dilation) และช้อนขูด (Curette) เรียกย่อๆ ว่า D&C การขยายปากมดลูก มีจุดมุ่งหมาย เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บของปากมดลูกระหว่างหัตถการ โดยแพทย์อาจให้ยา Misoprostol หลายชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อช่วยให้ปากมดลูกเปิดช้าๆ

เนื้อเยื่อผนังมดลูกที่นำเอาออกจากมดลูกระหว่าง D&C จะได้รับการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อเยื่อถูกนำออกมาหมดและการทำแท้งสมบูรณ์ แพทย์อาจทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ระหว่างทำหัตถการ D&C เพื่อยืนยันว่า เนื้อเยื่อทั้งหมดได้ถูกขับออก และการตั้งครรภ์ได้สิ้นสุดลง

ความเสี่ยงสำหรับการผ่าตัดทำแท้งในไตรมาตรที่ 2 ของการตั้งครรภ์ สูงกว่าไตรมาตรที่ 1 โดยเฉพาะถ้าทำหลังจากอายุครรภ์ 16 สัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ เช่น

  • เนื้อเยื่อที่หลงเหลืออยู่ในมดลูก ปวดเกร็งในช่องท้อง ตกเลือดภายใน 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด บางครั้งก็ไม่ ตกเลือดเป็นเวลาหลายสัปดาห์
  • เลือดแข็งตัว ถ้ามดลูกไม่บีบตัวเพื่อขับเนื้อเยื่อทั้งหมด ปากมดลูกที่เปิดอาจถูกปิดกั้น ป้องกันเลือดจากการ ขับของมดลูก มดลูกเริ่มใหญ่ขึ้น มีอาการปวดท้อง ปวดเกร็ง และคลื่นไส้เกิดได้เสมอ
  • การใช้เครื่องดูดสุญญากาศซ้ำเพื่อขูดเนื้อเยื่อที่ตกค้างออกให้หมดและยาเพื่อหยุดการตกเลือด ถูกใช้เพื่อ ยุติการตั้งครรภ์และทำให้เลือดแข็งตัว

การทำแท้งมีผลต่อการปฏิสนธิที่ไม่พึงปรารถนา เป็นไปได้ที่จะมีการตั้งครรภ์ในไม่กี่สัปดาห์หลังการทำแท้ง หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างน้อย 1สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำแพทย์ เมื่อจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง ให้ใช้การคุมกำเนิด และถุงยางเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

สำหรับคนไข้ที่ทำแท้งในไตรมาตรที่ 2 อาจมีผลข้างเคียงมากกว่าไตรมาตรแรก เพราะการตั้งครรภ์ที่ยาวนาน และเหตุผลของการทำแท้ง อาการซึมเศร้าอาจเกิดได้เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงหลังการตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ เช่น ล้า (Fatigue) การนอนและการเจริญอาหารที่เปลี่ยนไป หรือรู้สึกเสียใจ ว่างเปล่า วิตกกังวล หรืออารมณ์แปรปรวน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะถูกส่งไปห้องพักฟื้น ซึ่งมีพยาบาลคอยดูแลและสังเกตอาการ ผู้ป่วยจะใช้เวลาระยะหนึ่งใน

ห้องพักฟื้นก่อนกลับบ้าน เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านจะได้รับข้อมูลวิธีดูแลตัวเอง รวมทั้งบุคคลที่จะติดต่อด้วยเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หัตถการ D&C สามารถทำได้ที่คลินิก ถ้ามีแพทย์ที่จบและเชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ

จากข้อมูลในทุกตอนของข่าวนี้ จะเห็นได้ว่า การทำแท้ง มีผลข้างเคียงแทรกซ้อนเกิดได้มากมาย และบางชนิดอาจส่งผลให้มารดาเสียชีวิตได้ ดังนั้นการทำแท้งจึงต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น และการทำแท้งทางการแพทย์ จะทำได้เฉพาะใน กรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น ส่วนการทำแท้งที่ข้อบ่งชี้ ไม่ใช่เป็นข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และ/หรือ ทำโดยบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ ยังคงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

แหล่งข้อมูล

  1. Dilation and Evacuation - http://en.wikipedia.org/wiki/Dilation_and_evacuation [2013, April 1]
  2. Dilation and Evaluation for Abortion - http://women.webmd.com/dilation-and-evacuation-de-for-abortion [2013, April 1]