เครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (ตอนที่ 3)

เครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ

สำหรับการทดสอบว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ สามารถทำได้โดยการใช้

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (Electrocardiogram) ที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจว่าคงที่หรือผิดปกติ ช่วยในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นช้า (Bradycardia) และภาวะการฉีดโลหิตของห้องหัวใจล่างและบนไม่ประสานกัน.(Heart block)

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการจับจังหวะการเต้นของหัวใจในช่วงระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างการตรวจ ดังนั้นแทพย์จึงอาจให้ใช้เครื่อง EKG แบบพกพา อย่าง Holter and event monitors

  2. Holter monitors จะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้ ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่หยุด ในขณะที่ Event Monitor จะใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดปกติโดยอัตโนมัติหรือด้วยการกดปุ่ม การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography = echo) เป็นการใช้คลื่นเหนือเสียง (อัลตราซาวด์) ความถี่สูง ส่งไปยังบริเวณหัวใจ แล้วรับเสียงที่สะท้อนกลับมา ซึ่งจะสร้างออกมาเป็นภาพของหัวใจและหลอดเลือดไปปรากฏบนจอภาพ บันทึกเป็นวิดีโอหรือบันทึกลงกระดาษ เมื่อเคลื่อนหัวอ่านไปตามบริเวณต่างๆ ก็จะได้ภาพหัวใจและหลอดเลือดสำคัญทั้งหมด เห็นภาพการทำงานทั้งขณะบีบตัว คลายตัว การไหลเวียนของเลือด การเปิดปิดของลิ้นหัวใจ สามารถแสดงบริเวณตำแหน่งหัวใจที่มีปัญหา หรือกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเพราะมีเลือดผ่านได้น้อย การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) วิธีนี้จะใช้สายลวด (Flexible Wire) ผ่านเส้นเลือดที่ขาหนีบหรือแขนไปยังหัวใจ โดยสายลวดนี้จะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ สามารถชี้ได้ว่าจุดไหนที่มีระบบไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ การตรวจวิธีนี้ใช้เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่หัวใจเต้นผิดปกติและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด

    เมื่อตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะจำลองจังหวะที่หัวใจเต้นผิดปกติโดยผู้ป่วยจะไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด และแพทย์อาจลองใช้ยาหลายชนิดเพื่อดูว่าชนิดใดจะรักษาอาการได้ดีที่สุด แพทย์อาจใช้การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจเพื่อหาวิธีการหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรักษาจังหวะหัวใจที่เต้นผิดปกติ โดยมากจะใช้วิธีนี้ตรวจผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือผู้ที่เสี่ยงว่าหัวใจจะหยุดเต้นโดยกะทันหัน

  3. การทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) เป็นการทดสอบระหว่างช่วงที่หัวใจต้องทำงานหนักและเต้นเร็ว เช่น ขณะออกกำลังกาย หากไม่สามารถออกกำลังกายได้ก็อาจจะใช้ยาเสริมเพื่อให้หัวใจเต้นเร็ว

เครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ

  1. สายต่อ (Leads / wires)
  2. เครื่องกำเนิดสัญญาณ (Pulse generator) ซึ่งประกอบด้วยแบตเตอรี่ (Battery) และเครื่องกำเนิดชีพจรคอมพิวเตอร์ (Computerized generator) เครื่องนี้มีหน้าที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ

แหล่งข้อมูล:

  1. What Is a Pacemaker? http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/pace [2015, July 2].
  2. Living With Your Pacemaker. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Arrhythmia/PreventionTreatmentofArrhythmia/Living-With-Your-Pacemaker_UCM_305290_Article.jsp [2015, July 2].