เครียดจนปวดหรือปวดจนเครียด (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

เครียดจนปวดหรือปวดจนเครียด

สำหรับทางเลือกอื่นที่อาจช่วยในการลดอาการปวดศีรษะจากความเครียดได้ เช่น

  • การฝังเข็ม
  • การนวดผ่อนคลาย
  • การหายใจลึก
  • การทำไบโอฟีดแบ็ค (Biofeedback) ซึ่งเป็นการรักษาแบบหนึ่ง โดยให้คนไข้สังเกตปฎิกิริยาของร่างกาย เช่น ชีพจร การหายใจ ความตึง อุณหภูมิ ของร่างกายในภาวะต่างๆ กัน เพื่อให้คนไข้ทราบว่า การทำเช่นไรจะทำให้เกิดภาวะผ่อนคลายเต็มที่ หลังจากนั้น คนไข้จะสามารถฝึกตัวเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายได้
  • การจัดการความเครียด ด้วยการวางแผนล่วงหน้าและการผ่อนคลาย
  • การประคบร้อนหรือเย็น
  • การจัดท่าทางให้ดีเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เช่น การยืน การนั่ง

ส่วนการป้องกันมีหลายวิธี เช่น

  • การฝึกไบโอฟีดแบ็ค (Biofeedback training)
  • การบําบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy = CBT)
  • เทคนิคผ่อนคลายอื่นๆ เช่น การหายใจลึก โยคะ การทำสมาธิ

นอกจากนื้การปรับวิถีชีวิตที่ดีอาจช่วยป้องกันได้ เช่น

  • นอนพอสมควรไม่มากเกินไป
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ตามเวลา
  • ดื่มน้ำให้มาก
  • จำกัดการดื่มแอลกฮอล์ คาเฟอีน และน้ำตาล

อนึ่ง โรคปวดศีรษะจากความเครียดแตกต่างจากไมเกรน โดยโรคปวดศีรษะจากความเครียดจะ

  • ไม่ค่อยรุนแรง
  • ไม่มีอาการปวดตุบ ๆ (Throbbing) แต่ปวดเหมือนถูกรัด (Band-like)
  • ปวดทั้ง 2 ข้าง
  • ไม่เกี่ยวข้องกับความไวต้องแสงและเสียง
  • ไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน

บรรณานุกรม

1. Tension headache. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/home/ovc-20211413 [2017, January 13].

2. Tension Headaches. http://my.clevelandclinic.org/health/articles/tension-type-headaches [2017, January 13].