เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: หลักการประเมินภาวะโภชนาการ (Nutritional Assessment) Part4

เข้าครัวกับโภชนากร

การซักประวัติการรับประทานอาหาร สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

1. Dietary recall สามารถทำได้โดยการซักถามอาหาร และเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยรับประทานในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา วิธีนี้สามารถได้ข้อมูลจากผู้ป่วยในเวลาอันรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดในผู้สูงอายุที่หลงลืมง่าย และไม่สามารถประเมินพฤติกรรมหรือแบบแผนการรับประทานอาหารในระยะยาวได้

2. Dietary history เป็นวิธีการซักประวัติอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยรับประทานในช่วงเวลาที่กำหนด โดยรวบรวมข้อมูลทั้งในด้านชนิดและปริมาณ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อาทิ วิธีการปรุง ส่วนผมที่ใช้ในการประกอบอาหาร เวลาและบุคคลที่ร่วมมื้ออาหาร การซักประวัติด้วยวิธีนี้จะมีประโยชน์สำหรับการประเมินภาวะทุพโภชนาการแล้ว ยังสามารถประยุกต์ในการประเมินภาวะอ้วนอีกด้วย อย่างไรก็ตามเป็นวิธีใช้เวลาค่อนข้างนาน และความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับทักษะของผู้ซักประวัติ

3. Food record คือการทำบันทึกอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยรับประทานในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 3,5,7 วัน วิธีนี้ช่วยลดข้อผิดพลาดจากการหลงลืม และสามารถใช้ข้อมูลในการวางแผนโภชนบำบัดได้ อย่างไรก็ตามความถูกต้องของข้อมูลขึ้นกับผู้ให้ประวัติและผู้จดบันทึกเป็นหลักซึ่งต้องมีความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของอาหาร

4. Food Frequency questionnaire เป็นการประเมินความถี่ของการบริโภคอาหารแต่ละชนิดแต่ละช่วงเวลา เช่น สัปดาห์ เดือน หรือปีละกี่ครั้ง อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดคือ วิธีไม่ได้ประเมินปริมาณอาหารที่รับประทาน

ตัวอย่างแบบ Dietary history

บรรณานุกรม

  1. วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.