เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: หลักการประเมินภาวะโภชนาการ (Nutritional Assessment) Part3

เข้าครัวกับโภชนากร

ประวัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหาร

ประวัติการบริโภคอาหารที่เคยเป็นอยู่ก่อนเจ็บป่วย ทั้งปริมาณอาหาร จํานวนมื้อและชนิดของอาหาร

การเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารและระยะเวลาที่มี การเปลี่ยนแปลงมีความสําคัญเช่นกัน การซักประวัติ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ผ่านมา มีส่วนสำคัญในการประเมินว่าผู้ป่วยมีโอกาสขาดสารอาหารชนิดใดมากน้อยเพียงใด มาก่อนการเจ็บป่วย

บริโภคนิสัย อาทิ เป็นมังสวิรัติที่เคร่งมาก (strict vegetarian) หรือแมกโครไบโอติคอาจจะมี ปัญหาการขาดวิตามินบี 12 แคลเซียม เหล็ก สังกะสี

บริโภคนิสัยที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้อาจจะขาดวิตามิน ซี, บี1,ไนอาซินและโฟเลท เป็นต้น หากผู้ป่วยมีประวัติ การเปลี่ยนแปลงของการบริโภคอาหารจะต้องซักประวัติเกี่ยวกับ

  1. ความสามารถในการหาอาหาร ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถูกทอดทิ้ง หรือ มีปัญหา ทางเศรษฐานะและสังคม มีโอกาสขาดอาหารมากกว่าปกติ จะมีปัญหาการขาดสารทั้งสารอาหารหลักและสารอาหารกลุ่ม micronutrient
  2. ความสามารถในการเคี้ยวและกลืนอาหาร โรคของช่องปากและฟันอาจทําให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการเคี้ยวจึงอาจทำให้ได้รับสารอาหารบางอย่างโดยเฉพาะโปรตีนและใยอาหารไม่่เพียงพอ ความผิดปกติ เกี่ยวกับการกลืนอาจทำให้ผู้ป่วยขาดโปรตีนและพลังงาน รวมทั้งสารอาหารกลุ่ม micronutrient
  3. ความรู้สึกอยากอาหาร ความอิ่มและความรู้สึกอึดอัดไม่สบายท้อง (appetite, satiety และabdominal discomfort) ทําให้ได้้รับอาหารไม่เพียงพอ
  4. ปัญหาด้านจิตใจและพฤติกรรม เช่น ภาวะซึมเศร้ามีผลทำให้เบื่ออาหาร จะมีปัญหาการขาดสารอาหารได้หลายๆชนิด โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของการกิน (eating disorder) เช่น ใน anorexia จะขาดสารอาหารได้หลายชนิด

บรรณานุกรม

  1. วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.