เข้าครัวกับโภชนากร(โรงพยาบาล)ตอน: โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยการล้างไตทางช่องท้อง Part.1

เข้าครัวกับโภชนากร

Continuous ambulatory peritoneal dialysis, CAPD

โภชนาการและโภชนบำบัดมีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันและรักษาภาวะโภชนาการในผู้ป่วย CAPD ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายได้ ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสารอาหารของผู้ป่วยที่ได้รับการการรักษาด้วย CAPD เป็นผลกระทบของพยาธิสภาพโรคเรื้อรัง และผลกระทบที่เกิดจากการบำบัดด้วย CAPD ซึ่งมีการสูญเสียสารอาหาร โปรตีน วิตามิน เกลือแร่หลายชนิด และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุพโภชนาการ การที่ผู้ป่วยต้องจำกัดอาหารหลายชนิดร่วมกับภาวะที่กินไม่ได้จากโรคไตเรื้อรัง ทำให้ร่างกายมีความอยากน้อยลง ตลอดลงจนการที่ผู้ป่วยไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกอาหารที่ถูกต้อง ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุร่วมกันที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ

ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วย CAPD ทีมผู้ให้การรักษา จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องโภชนาการของผู้ป่วย ควรมีการประเมินความต้องการพลังงานและสารอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการให้คำแนะนำทางด้านโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงกับความต้องการของร่างกาย

การประเมินภาวะโภชนาการ

การภาวะโภชนาการของผู้ป่วยสามารถประเมินได้จากการรวบรวมและเก็บข้อมูลทางคลินิกจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วยและสัมภาษณ์ผู้ป่วย

การวัดสัดส่วนของร่างกาย

เพื่อให้ทราบว่าในร่างกายมีส่วนกล้ามเนื้อ ไขมัน มากน้อยเท่าไรเมื่อร่างกายขาดโปรตีน ส่วนของกล้ามเนื้อจะลดลงเมื่อร่างกายขาดพลังงานปริมาณไขมันที่สะสมจะลดลง การวัดสัดส่วนของร่างกายโดย

  • วัดเส้นรอบข้อมือ เพื่อหาค่าโครงสร้าง เส้นรอบพุง เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพกเพื่อหาค่า ความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการโรคเมตาบอลิก
  • น้ำหนักตัว ส่วนสูงหาค่าดัชนีมวลกาย(Body mass index : BMI)น้ำหนักที่ควรจะเป็นและการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว

การหาน้ำหนักที่น่าจะเป็นอย่างง่าย

แบบที่ 1 ผู้ชาย = ส่วนสูง(ซม.) - 100 ผู้หญิง = (ส่วนสูง(ซม) - 100) - 10 %(ส่วนสูง(ซม)-100 โดยมีความคลาดเคลื่อน +(3 - 5 ก.ก.)ขึ้นกับโครงสร้าง แบบที่ 2 ผู้ชาย = ส่วนสูง(ซม.) - 100 ผู้หญิง = ส่วนสูง(ซม) - 105(110) โครงสร้างร่างกาย (Frame size) = ส่วนสูง(ซม.)

การตรวจทางชีวเคมี

เพื่อรู้ปริมาณสารสำคัญในเลือดที่เป็นตัวชี้วัดภาวะโภชนาการ ดังนี้

  • Blood urea Nitrogen Creatinine Albumin
  • Potassium phosphate calcium
  • Glucose Hemoglobin Low -Density Lipoprotein Triglyceride Cholesterol

ด้านโปรตีนการใช้ค่า Serum Albuminเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน โดยเป็นที่นิยมใช้กันมาก มีเกณฑ์เป้าหมายที่ 3.5 - 4 มก./ดล. การประเมินมีข้อเสนอแนะประเมินทุก 1 เดือนจนถึงทุก 2 -3 เดือน K/DOQI (2000)

บรรณานุกรม

1. ชนิดา ปโชติการ ,สุนาฎ เตชางาม. โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง .การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่องมาตรฐานกระบวนการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ ; วันที่ 2-4 พฤษภาคม 2555 : ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว. กรุงเทพฯ.

2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

3. อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ . Nutrition in Acute Kidney Injury. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.