เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: การคัดกรองสภาวะโภชนาการ (Nutrition Screening)

เข้าครัวกับโภชนากร

การคัดกรองสภาวะโภชนาการ เป็นกระบวนการพื้นฐานที่ควรทำในผู้ป่วยทุกรายที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดทุพโภชนาการซึ่งจะนำไปสู่การประเมินสภาวะโภชนาการโดยละเอียดต่อไป อย่างไรก็ดีแม้ว่าผลการคัดกรองสภาวะโภชนาการเป็นปกติ ผู้ป่วยควรได้รับการคัดกรองซ้ำทุกสัปดาห์

เครื่องมือที่สามารถใช้ในการการคัดกรองสภาวะโภชนาการมากมาย อาทิ Subjective Global Assessment (SGA), Nutrition Risk Screening (NRS) , Malnutrition Universal Screening(MUST) เป็นต้น ซึ่งมีหลักการสำคัญคล้ายคลึงกันคือ การประเมินภาวะน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ตั้งใจ การรับประทานอาหารลดลงและอาจรวมถึงความรุนแรงของความเจ็บป่วย

ตัวอย่าง : การคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้วิธี Subjective Global Assessment (SGA)

เมื่อคัดกรองแล้ว ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดทุพโภชนาการหรือมีภาวะทุพโภชนาการแล้ว ควรได้รับการประเมินโดยละเอียดเพื่อวางแผนในการให้โภชนบำบัดซึ่งประกอบด้วยกัน 4 ขั้นตอนคือ

  1. การประเมินสภาวะโภชนาการ(Nutrition Assessment)
  2. ประเมินภาวะโรคและปัญหาที่ผู้ป่วยเป็น
  3. ประเมินความต้องการพลังงานและสารอาหารต่างๆให้เหมาะสมกับแต่ละสภาวะ
  4. การติดตามประเมินผลดี และภาวะแทรกซ้อนจากการให้โภชนบำบัด

บรรณานุกรม

  1. วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.