เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต Part.1

เข้าครัวกับโภชนากร

โภชนบำบัดมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาแบบประคับประคองในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยมีวัตถุประสงค์ คือ

  • การชะลอความเสื่อมในหน้าที่ของไต
  • การป้องกันหรือลดอาการยูรีเมีย
  • การรักษาภาวะโภชนาการที่ดีของผู้ป่วย

ดังนั้นพื้นฐานความรู้ต่างๆ ทางโภชนาการจึงมีความสำคัญ อาทิ ความต้องการปริมาณโปรตีนและพลังงานในอาหาร การประเมินภาวะโภชนาการ เวลาที่เหมาะสมในการเริ่มให้โภชนบำบัด การติดตามและประเมินความร่วมมือของผู้ป่วย

การชะลอความเสื่อมของไต เมื่อใดก็ตามที่เกิดการเสื่อมในหน้าที่ของไตจนถึงขึ้นหนึ่งแล้ว จะค่อยๆมีการดำเนินของโรคไปในทางที่เลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งเข้าสู้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แม้ว่าสาเหตุเริ่มต้นถูกจำกัดไปแล้ว ปัจจัยสำคัญทางโภชนาการทีมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินโรคของภาวะไตวายเรื้อรัง คือ

ปริมาณโปรตีนในอาหาร

การรับประทานอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีผลเสียต่อการทำหน้าที่ของไต โดยมีการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่และโครงสร้างในเนื้อไต ในทางตรงกันข้ามการให้อาหารที่จำกัดโปรตีนทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้ายของไตวายเรื้อรัง(end-stage renal failure) ช้าลงหรือลดลง

การให้อาหารจำกัดโปรตีนนั้นมีผลดีต่อการดำเนินของโรคไตวายเรื้อรัง โดยสามารถชะลอการเสื่อมสภาพในหน้าที่ของไตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ยังเป็นไม่มาก งานวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มี creatinine clearance (CCr)ระหว่าง 30-60 มิลลิลิตร/นาที ซึ่งจำกัดโปรตีน 0.6 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน และผู้ป่วยที่มี CCr)ระหว่าง < 30 มิลลิลิตร/นาที ซึ่งจำกัดโปรตีน 0.4 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 2 ปี สามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ และที่เวลา 4 ปีจะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้นในกลุ่มหลัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการเข้าสู่ระยะท้ายของไตวายเรื้อรังเพียง 15.4 % เทียบกับกลุ่มควบคุมอาหารที่ได้รับโปรตีนในระดับปกติเข้าสู่ระยะ end-stage renal failure มากถึง 47.5 %

ปริมาณฟอสเฟตในอาหาร

ในเนื้อไตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มักพบว่ามีแคลเซียมฟอสเฟตสะสมอยู่ โดยมีปริมาณเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระดับความเสื่อมในหน้าที่ของไต และระดับฟอสเฟตในเลือด นั้นอาจแสดงถึงแคลเซียมฟอสเฟตที่สะสมในเนื้อไตอาจทำให้มีส่วนส่งเสริมให้มีความก้าวหน้า(Progression)ของโรคไตวายเรื้อรังไปในทางที่แย่ลง ในทางตรงกันข้าม หากมีการจำกัดอาหารที่มีฟอสเฟตจะช่วยป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมเร็ว และมีแคลเซียมฟอสเฟตมีสะสมในเนื้อไตลดลง

ชนิดไขมันในอาหาร

ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีภาวะไขมันในเลือดสูงได้มาก ซึ่งเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและหัวใจ และอาจส่งเสริมการเสื่อมในหน้าที่ของไต การให้โภชนบำบัดเพื่อลดปริมาณไขมันในอาหาร การจำกัดปริมาณ Cholesterol ในอาหารโดยให้มีสัดส่วนของ Polyunsaturated fat สูงขึ้นสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ พบว่าการใช้ omega-3 ซึ่งมีอยู่ในไขมันปลาอาจลดความก้าวหน้าของความเสื่อมโรคไตวายเรื้อรังได้