เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: นมวัวกับโรคมะเร็ง

เข้าครัวกับโภชนากร

ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายท่าน มักมีความเชื่อว่าไม่ควรรับประทานนมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัว ด้วยสาเหตุทีแตกต่างกัน WCRF 2007มีรายงานการศึกษาว่า การรับประทานนมวัวไม่มีความเกี่ยวข้องต่อโรคมะเร็ง โดยไม่ได้มีผลไปเร่งการเติบโตของเซลล์มะเร็งแต่อย่างใด หากมีเพียงข้อจำกัดว่าในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานนมแล้วมีอาการท้องเสีย จึงแนะนำให้หยุดรับประทานก่อน ถึงแม้ว่าผู้ป่วยซึ่งเดิมเคยรับประทานนมวัวแต่ไม่มีอาการท้องเสีย อาจมีอาการท้องเสียขณะที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา ฉะนั้นในขณะที่รักษาจำเป็นต้องเลือกรับประทานนมวัว ชนิดสเตอริไรด์บรรจุกล่อง หรือกระป๋องอย่างมิดชิด

ปัญหาหนึ่งซึ่งอาจสัมพันธ์ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง คือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนซึ่งจะเกิดได้กับผู้ป่วยมะเร็ง การเลือกรับประทานนมวัว ซึ่งมีปริมาณแคลเซียมค่อนข้างสูงจะช่วยบำรุงกระดูกไปด้วย แต่หากมีภาวะท้องเสีย อาจจะต้องเลี่ยงไปรับประทานอาหารชนิดอื่นที่ให้แร่ธาตุแคลเซียม อาทิ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ปลาเล็กปลาน้อย งา ผักใบเขียว เป็นต้น

บรรณานุกรม

  1. พรพจน์ เปรมยิน. Nutrition in Cancer . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. จงจิตร อังคทะวานิช.ข้อคิดเชิงปฏิบัติด้านการกำหนดอาหารโรคมะเร็ง . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ..