เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: ความเชื่อ “เนื้อสัตว์กับโรคมะเร็ง”

เข้าครัวกับโภชนากร

ผู้ป่วยหรือผู้ที่สนใจในการดูแล และป้องกันโรคมะเร็งมักจะได้รับคำแนะนำที่หลากหลาย แต่คำแนะนำเหล่านี้ทำให้เกิดความสับสนว่า อาหารอะไรที่ควรกิน ไม่ควรกิน สำหรับแนวคิดข้อแนะน้ำเรื่องกินเพื่อดูแลและป้องกันมะเร็ง มีหลักฐานโดย World Cancer Research Fund (WCRF)2007 มาอธิบายเพื่อเป็นแนวปฏิบัติของผู้ที่สนใจป้องกันมะเร็งและผู้ที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระหว่างการรักษานำไปปฏิบัติ

ผู้ป่วยหลายคนมักมีความเชื่อว่าเนื้อสัตว์ กินแล้วจะเข้าไปเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยอมรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด เมื่อร่างกายอยู่ในช่วงภาวะทุพโภชนาการจากโรคมะเร็งและอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา ซึ่งร่างกายจะขาดสารอาหารและเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด

ข้อมูลที่รายงานโดยEPIC 2009 และFerguson 2010 พบว่าความเกี่ยวข้องของเนื้อสัตว์กับโรคมะเร็งนั้น พบว่าไม่ใช้เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่มีความสัมพันธ์กับโรค แต่เป็นเนื้อแดง คือสัตว์ใหญ่และเป็นเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการ เช่น ไส้กรอก การหมักที่มีการเติมเกลือหรือสารกันบูดประเภทไนไตรท ไนไตรท์ จากการศึกษาพบว่า ปัญหาของเนื้อแดงที่มีความเข้าใจมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งนั้นอยู่ที่ความร้อนที่ใช้ปรุงอาหารสูงเกินไป เช่น การปิ้ง ย่างจนเกรียมซึ่งทำให้เกิดสาร heterocyclic amines , polycyclic aromatic hydrocarbon N-nitroso compounds ที่มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง(Ferguson 2010) ดังนั้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการป้องกันมะเร็ง ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ปิ้ง ย่าง สำหรับเนื้อสัตว์ที่ต้ม นึ่ง ผัดปกติสามารถรับประทานได้ และควรเลือกเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณไขมันน้อย ไม่ติดหนัง

สำหรับปริมาณการรับประทานเนื้อสัตว์ การรับประทานเนื้อแดงในปริมาณสูงและบ่อยๆอาทิ สเต็กเป็นชิ้นใหญ่ ไม่ควรรับประทานเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

เนื้อสัตว์ มีสารอาหารคือโปรตีนที่มีคุณภาพดีมีวิตามินที่สำคัญ เช่น วิตามินบี 1,6 ไนอาซิน และธาตุเหล็ก สำหรับผู้ป่วยที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ มีการศึกษาหลายการศึกษาว่าการกินเนื้อสัตว์ หรือไม่กินเนื้อสัตว์ไม่มีความแตกต่างกันในการเติบโตของก้อนมะเร็ง เพราะการเติบโตของก้อนมะเร็งไม่ได้

ได้ดี และแม้ว่าผู้ป่วยจะผอมจนหนังหุ้มกระดูก ก้อนมะเร็งยังสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติคือการรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีประโยชน์เพื่อให้ให้ร่างกายแข็งแรงเพียงพอที่จะต่อสู้กับการรักษา หากผู้ป่วยไม่รับประทานโปรตีนเลยจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรง ทำให้ร่างกายขาดภูมิต้านทาน ติดเชื้อง่าย เม็ดเลือดต่ำมีภาวะซีด เหนื่อยง่ายและจะทำให้การรักษาไม่ครบถ้วนตามกระบวนการที่แพทย์กำหนดไว้

ผู้ป่วยมะเร็งที่มีน้ำหนักตัวลดลง มักจะมีเม็ดเลือดแดงต่ำ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์บ้าง เนื้อปลาสามารถรับประทานได้ทุกวัน เพราะเป็นโปรตีนที่ดี ย่อยง่าย ท้องไม่อืด

ไข่ ถือว่าเป็นโปรตีนที่ดีมาก ควรรับประทาน 1-2 ฟองทุกวัน เพราะในไข่แดงมีธาตุเหล็กสูงและอาจเพิ่มไข่ขาว 2-4 ฟองต่อวัน อาจเลือกเป็นเมนูขนมที่มีไข่เป็นส่วนผสมบ้าง อาทิ สังขยาฟักทอง คัสตาร์ด ฝอยทอง เป็นต้น

บรรณานุกรม

  1. วันทนีย์ เกรียงสินยศ,การบริโภคผักและผลไม้เพื่อความมั่งคงทางโภชนาการ:2557
  2. จงจิตร อังคทะวานิช . ข้อคิดเชิงปฏิบัติด้านการกำหนดอาหารในโรคมะเร็ง Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.