เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: โภชนบำบัดทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็ง Part 3

เข้าครัวกับโภชนากร

หลักการจัดและกำหนดอาหารในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

  1. อาหารที่ให้ควรมีพลังงานสูง สามารถดูดซึมง่าย เช่น ซุปเนื้อไก่ด้วยตุ๋นนานๆ ปรับปรุงรสชาติอาหาร เนื่องจากต่อมรับรสของผู้ป่วยทำงานน้อยลง เกิดความเบื่ออาหาร จึงต้องดัดแปลงให้น่ารับประทานมากขึ้น เช่น ต่อมรับรสหวานอาจถูกทำลาย ต้องเพิ่มรสหวานมากขึ้น การรับรู้รสขมต่ำลง ทำให้การบริโภคเนื้อสัตว์ไม่ได้เพาะเหม็น ควรใช้โปรตีนจากไข่และถั่วเหลืองมาสลับบ้าง และควรเพิ่มแร่ธาตุสังกะสี เพื่อเพิ่มการรับรส
  2. การจัดอาหารให้มีสีสัน กลิ่นหอม น่ารับประทานเพื่อกระตุ้นให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร มีอาการท้อแท้ทางจิตใจ ควรมีการเปลี่ยนสถานที่การรับประทานอาหารบ้าง
  3. ควรมีการเพิ่มมื้ออาหารจากวันละ 3 ครั้งเป็น 5 - 6 ครั้ง
  4. กรณีผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง จะเกิดอาการท้องผูก ท้องเสีย มีแก๊ส ไม่สามารถดื่มนมที่มีน้ำตาลlactoseได้ ควรให้อาหารอ่อนเหลวๆ รับประทานที่ละน้อย
  5. ควรให้อาหารเสริมระหว่างมื้อ เช่น นมสดเพื่อเพิ่มโปรตีนและพลังงาน
  6. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดร้อน อาหารทอดน้ำมันมากๆ และเครื่องดื่มแอลกอฮลล์
  7. กรณีมีอาการคลื่นไส้ ในช่วงเช้าควรให้รับประทานขนมปังปิ้งกรอบ หรือแครกเกอร์

หลักการดูแลช่องปาก

การดูแลช่องปากเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่มักถูกละเลยในผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด และรังสีรักษา ซึ่งจะเกิดปัญหาเจ็บปาก เจ็บคอ ทำให้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการรับประทานอาหาร ซึ่งการดูแลช่องปากควรเริ่มต้นทำไปพร้อมๆกับการรักษา ดังนี้

  1. การแปรงฟัน ควรเลือกแปนงสีฟันทีมีขนแปรงนุ่มที่สุด
  2. ยาสีฟันควรเลือกทีปราศจากรสชาติ ควรเลือกยาสีฟันที่เป็นสมุนไพร หรือใช้เบคกิ้งโซดา(baking Soda)แทนยาสีฟันได้
  3. ผู้ป่วยควรอมน้ำเกลือเจือจางทุก 3 -4 ชั่วโมง
  4. ผู้ป่วยควรทำ oilpulling (ออยล์พูลลิ่ง) เพื่อเป็นการช่วยลดการบาดเจ็บเนื้อเยื่อช่องปากได้ และเป็นการลดแบคทีเรียในช่องปากดังนี้
    • น้ำมันที่ควรใช้ควรเลือกเป็นน้ำมันที่สกัดเย็น น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าว ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
    • อมน้ำมันเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในปาก (Move Oil Slowly) กลั้วอยู่ในปากไม่ต้องแรง ดูด และดึง น้ำมันให้ผ่านฟันไปมาให้ทั่วๆ ใช้เวลา 15 – 20 นาทีจึงบ้วนทิ้ง ควรทำ 3 เวลา ก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น ตอนท้องว่าง

บรรณานุกรม

  1. ชนิดา ปโชติการ ,สุนาฎ เตชางาม. โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง.การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่องมาตรฐานกระบวนการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ ; วันที่ 2-4 พฤษภาคม 2555 : ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว. กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.
  3. พรพจน์ เปรมยิน. Nutrition in Cancer . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.