เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: โภชนบำบัดทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็ง Part 2

เข้าครัวกับโภชนากร

ความต้องการสารอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งมีความจำเป็นต้องได้รับปริมาณอาหารและสารอาหารเหมาะสมต่อสภาวะการเจ็บป่วยของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีความพร้อมที่จะได้รับการรักษา

ความต้องการสารอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง

1. พลังงาน ควรได้รับเพียงพออาจให้ได้ถึง 3,000 – 4,000 กิโลแคลอรี ถ้ามีการขาดรุนแรงควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่นแป้ง น้ำตาลและเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่เป็นปริมาณน้อย เนื่องจากผู้ป่วยจะรับประทานได้น้อย ไม่ควรให้ประทานประทานไขมันมากเกินไปโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว

2. โปรตีน ควรได้รับโปรตีน 80 – 100 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีกรดอมิโนครบถ้วน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นมสด เพื่อช่วยซ่อมแซมและรักษาเนื้อเยื่อและสร้างภูมิคุ้มกัน

3.

4. วิตามินและเกลือแร่ ควรรับประทานผักและผลไม้หลายสี เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ และควรรับประทานวิตามินบีรวม วิตามิน A,C,D,Eและสังกะสีเสริมด้วย

5. น้ำหรือของเหลว ควรได้รับวันละ 2 - 3ลิตรเพื่อช่วยให้ไต กำจัดของเสียและยา การดื่มน้ำให้พอเพียงจะช่วยป้องกันไตอักเสบได้

ตารางแสดงความต้องการพลังงาน โปรตีนและไขมันของผู้ป่วยมะเร็ง

บรรณานุกรม

  1. ชนิดา ปโชติการ ,สุนาฎ เตชางาม. โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง.การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่องมาตรฐานกระบวนการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ ; วันที่ 2-4 พฤษภาคม 2555 : ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว. กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.
  3. พรพจน์ เปรมยิน. Nutrition in Cancer . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.