เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: Choice of Nutrition Support

เข้าครัวกับโภชนากร

การให้โภชนาการแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยพลังงานและสารอาหารเพียงพอ เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต การทำงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การให้โภชนบำบัดอาจให้ได้ทั้งทางปากตากปกติ หรือให้ทางเดินอาหารโดยอาศัยสาย(tube) ให้อาหารชนิดต่างๆ หรือให้ทางหลอดเลือดดำ

การประเมินผู้ป่วยถึงความสามารถในการรับประทานอาหารเพียงพอหรือไม่

  1. รับประทานอาหารทางปาก(oral) เพียงพอตามที่ต้องการ > 75 % ของพลังงานที่ต้องการและมีการติดตามเป็นระยะ
  2. กรณีรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ให้มีการรับประทานอาหารเสริมเพิ่ม(supplement)
    • รับประทานอาหารทางปาก + อาหารเสริม(supplement)ได้ > 75 %ตามความต้องการพลังงาน และให้การติดตามเป็นระยะ
    • รับประทานอาหารทางปาก + อาหารเสริม(supplement)ได้ < 75 %ตามความต้องการพลังงาน ต้องให้อาหารทางสายให้อาหารตามพยาธิสภาพผู้ป่วย

ข้อบ่งชี้ในการให้อาหารทางสายให้อาหาร

  1. เมื่อทางเดินอาหารไม่มีปัญหา สามารถใช้งานได้
  2. เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากเองได้ หรือรับประทานอาหารได้เองไม่เพียงพอ

ข้อห้ามในการให้อาหารทางสายให้อาหาร

  • มีภาวะลำไส้อุดตั้นที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด
  • อาเจียน ท้องเสียรุนแรงที่ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการให้ยา
  • ภาวะลำไส้สั้น (short bowel syndrome )ลำไส้เล็กน้อยกว่า 100 เซนติเมตร
  • ลำไส้ไม่ทำงาน (paralytic ileus)
  • มีเลือดออกทางเดินอาหาร (severe GI bleeding)
  • severe GI malabsorption
  • Inability to gain access to GI tract
  • คาดว่าผู้ป่วยจะรับประทานอาหารได้เพียงพอในเวลา < 5 –7 วัน ในผู้ป่วยที่ขาดอาหาร หรือ ในเวลา < 7 - 9 วันในผุ้ป่วยที่ไม่ขาดอาหาร
  • ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminal case , Limited expected lifespan) โดยสรุปการให้อาหารทางเดินอาหารนั้นดีทีสุด แต่ถ้าได้รับอาหารไม่เพียงพอ ควรให้อาหารทางสายให้อาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถคงสภาวะโภชนาการ หรือลดภาวะทุพโภชนาการ.

บรรณานุกรม

  1. ปริย พรรณเชษฐ์. Choice of Nutrition Support . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.