เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: การให้โภชนบำบัดที่เหมาะสมในผู้ป่วย(Principle of Nutrition Support ) Part1

เข้าครัวกับโภชนากร

การให้โภชนบำบัดที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน หรือโรคเรื้อรังเป็นความจำเป็นพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยร่วมไปกับการรักษา คุณภาพของโภชนบำบัดที่เหมาะสม ต้องดูแลตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะทุพโภชนาการ มีการประเมินความต้องการสารอาหารที่เหมาะสม วางเป้าหมายการดูแล การให้โภชนบำบัด การติดตามและประเมินผล

เป้าหมายของการให้โภชนบำบัด (Nutritional goal)

ตั้งแต่การรักษาสภาวะทุพโภชนาการ รักษาภาวะแทรกซ้อนทุพโภชนาการ ระดับการป้องกันภาวะขาดสารอาหาร หรือในบางกรณีในระยะยาวมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด

เป้าหมายของการให้โภชนบำบัดในผู้ใหญ่ แบ่งได้ดังนี้

  1. ทำให้ผลการรักษาทางคลินิกดีขึ้น ควรเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการให้โภชนบำบัดเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายโดย
    • ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่พอ ซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงในการติดเชื้อและการเสียชีวิต สำหรับเป้าหมายนี้สามารถกำหนดในผู้ป่วยที่รับประทานเองไม่ได้หรือไม่พอ
    • สามารถเปลี่ยนการดำเนินโรค หรือผลการรักษาให้เป็นแนวทางที่พึงประสงค์ อาทิ แก้ไขการขาดสารอาหาร หรือความผิดปกติทางเมแทบอลิซึมจากโรคหรือการรักษา
  2. วัตถุประสงค์เฉพาะ(Specific goals)ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะโภชนการ และสภาพของผู้ป่วยคือ
    • ลดความรุนแรงของการหมุนเวียนโปรตีน ป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวลดรุนแรง
    • คงน้ำหนักตัวและ Lean body mass ได้แก่ในผู้ป่วยที่รับประทานไม่ได้เป็นเวลานาน ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท ผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนอาหารผิดปกติ โรคที่มีความผิดปกติในระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหาร
    • ทำให้ภาวะทุพโภชนาการดีขึ้น เพิ่มน้ำหนักตัว

บรรณานุกรม

  1. จุฬาภรณ์ รุ่งพิสุทธิพงษ์. Nutrition Assessment.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2557 ] เข้าถึงได้จาก http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Nutrition%20assessment.pdf [2014,Nov18]
  2. ประณิธิ หงสประภาส. Principle of Nutrition Support in Adults . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.