เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: หลักการให้โภชนบำบัด (Principle of nutrition support) Part2

เข้าครัวกับโภชนากร

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาต่อการให้อาหารในช่วงแรก (refeeding effect)

กลุ่มอาการ refeeding มักเกิดในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง มักเกิดในช่วงสัปดาห์แรกของการให้อาหาร ดังนี้

  • อาการบวมจากการที่มีน้ำและเกลือคั่ง เนื่องจากการได้รับโซเดียมเพิ่มขึ้นและการกระตุ้น อินซูลิน อาการจากฟอสเฟต โพแทสเซียม และแมกนีเซียมและวิตามินในเลือดต่ำ เกิดจากการที่ เกลือแร่ที่ต่ำอยู่ในขณะที่มีภาวะทุพโภชนาการ เมื่อเนื้อเยื่อได้รับสารอาหารและน้ำเพิ่มขึ้น เกลือแร่จะเข้าสู่เซลล์ มากขึ้นทำให้มีระดับเกลือแร่ในเลือดต่ำลง อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ จากการที่มีฟอสเฟตและแมกนีเซียมต่ำ
  • อาจร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจฝ่อลีบจากการขาดอาหาร และการให้อาหารกลับเข้าไปจะเป็นการเพิ่มการใช้ไธอะมีน อาจเกิดการขาดไธอะมีนได้ รวมทั้งมีการเพิ่มการใช้พลังงานขณะพัก (RMR)
  • จากการที่มีน้ำและเกลือแร่คั่ง ในช่วงแรกของการให้อาหารทำให้อาจมีภาวะหัวใจล้มเหลวได้

การให้อาหารทาง ทางเดินอาหารในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการย่อยและการดูดซึมที่ผิดปกติ ไปจากภาวะทุพโภชนาการด้วย การให้อาหารที่มีความเข้มข้นมากกว่าปกติหรือแม้แต่ ความเข้มข้นปกติก็ตาม หรือให้อาหารในอัตราที่เร็วอาจ ทำให้คลื่นไส้อาเจียน ปวดแน่นท้อง หรือท้องเสีย (refeeding diarrhea) ได้เช่นกัน

บรรณานุกรม

  1. ประณิธิ หงสประภาส. Principle of Nutrition Support in Adults . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.