เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) :ตอน หรอยแบบใต้…ได้สุขภาพตอนที่ 1

อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู

อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ

ข้าวยำปักษ์ใต้

ข้าวยำ มาจากคำว่า "นาซิกาบู" เป็นภาษามาลายูท้องถิ่น "นาชิ" แปลว่า ข้าว "กาบู" แปลว่า ยำข้าวยำ ประกอบด้วยข้าวสุกราดด้วยน้ำบูดู (หรือน้ำเคย) มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และผักสดหลายชนิดหั่นรวมกันลงไป แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ข้าวยำปักษ์ใต้ที่ปรุงสำเร็จแล้ว จะมีหลายรสชาติด้วยกัน ได้แก่ รสมันของมะพร้าว รสเปรี้ยวจากมะม่วงดิบหรือมะนาว รสเค็มหวานจากน้ำบูดู รสเผ็ดของพริกป่น เรียกว่าเป็นอาหารที่บำรุงธาตุก็ไม่ผิดนักอร่อยครบเครื่องด้วยสุขภาพ แล้วยังสามารถต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย

ข้าวมันแกงไก่สงขลา

สูตรข้าวมันแกงไก่สงขลา ได้รับการถ่ายทอดมาจาก นาซิดาฆัง หรือ “ข้าวมันแกงไก่" อันเป็นอาหารชาวมุสลิมปักษ์ใต้ รสชาติข้าวมันจึงมีรสชาติออกมัน ๆ แต่ไม่เลี่ยน ได้กลิ่นกะทิจากมะพร้าวนิดๆ รสชาติจะหวาน ๆ เค็ม ๆ มัน ๆ และ แกงไก่ ซึ่งเป็นหัวใจของ "ข้าวมันแกงไก่" เคล็ดลับอยู่ที่เครื่องแกงจะต้อเข้มข้น รสชาติแกงไก่จะหวานนำ ตามด้วยเค็ม มัน เผ็ดนิด ๆ ตามเอกลักษณ์ของเครื่องแกงภาคใต้กลิ่นจะหอมเครื่องแกง รสชาติที่ได้จึงมีทั้งเปรี้ยว เผ็ด หวาน และเค็ม หวาน เปรี้ยว เค็ม และเผ็ดนิด ๆ

บรรณานุกรม

http://www.oknation.net/blog/SouthernFoods [2014,Feb6].