เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) :ตอน อาหารกับโรคเกาต์ (GOUT)

อาหารนั้นไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์เพียงแต่มีส่วนกระตุ้นให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์หรือเป็นโรคเกาต์มีข้ออักเสบได้ง่ายขึ้น มีการศึกษาที่พบว่าการงดรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีน (purine) จะทำให้ระดับกรดยูริคเลือดลดลงเพียง 1 มก./ดล. เท่านั้น

หลักปฏิบัติ

  1. ถ้ามีภาวะน้ำหนักตัวเกินควรลดน้ำหนัก และการลดน้ำหนักควรเป็นไปอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปไม่ควรเกินครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ เพราะการลดน้ำหนักมากๆในระยะเวลาสั้นอาจมีผลทำให้เกิดภาวะมีสารคีโตน (ketone) ในเลือดสูงส่งผลให้การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลงและที่สำคัญไม่ควรลดน้ำหนักโดยการอดอาหารอย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ในร่างกายรวดเร็วผิดปกติทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงมากขึ้นและเกิดข้ออักเสบกำเริบได้
  2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากทำให้มีการสร้างกรดยูริคเพิ่มขึ้นและยังลดการขับกรดยูริคจากร่างกาย
  3. พยายามดื่มน้ำให้มากเพราะน้ำจะช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย และลดความเข้มข้นของกรดยูริคในเลือดทำให้ลดโอกาสก่อตัวของเกล็ดผลึกโมโนโซเดียมยูเรต (mono sodium urate) ที่ก่อให้เกิดโรคเกาต์ โดยปกติในผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วหรือ 2 ลิตรแต่ในกรณีเกิดอาการโรคเก๊าท์อาจเพิ่มเป็น 3- 4 ลิตร ยกเว้น ผู้ป่วยโรคไตหรือโรคหัวใจที่แพทย์แนะนำไม่ให้ดื่มน้ำมากเกินไป
  4. ควรรับประทานผักให้ได้ทุกมื้อเพราะผักส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นด่างช่วยให้เลือดมีความเป็นด่างที่เหมาะสม ปกติเลือดของคนเรามีค่าความเป็นกรดด่าง (pH)ประมาณ 7.4 ซึ่งมีความเป็นด่างอ่อนๆ จะช่วยให้ละลายกรดยูริคได้มากขึ้น โดยเฉพาะผักชนิดใบเขียว รับประทานอย่างน้อย 4-5 ทัพพี
  5. การรับประทานข้าว(แป้ง) ให้เพียงพอ โดยทั่วไปวันละ 8-10 ทัพพีเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอในการทำกิจกรรมต่างๆโดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงานเพราะการเผาผลาญโปรตีนลักษณะนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริคออกมาในกระแสเลือดมากขึ้น
  6. เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่ายกาย ไม่มากจนเกินไป ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า35 ปี ควรรับประทานเนื้อสัตว์ ไม่เกิน 2 – 2 ½ ขีด/วัน และควรเลือกที่มีไขมันต่ำไม่ติดมัน ติดหนัง
  7. หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารโดยใช้ไขมันสูง อาทิ แกงกะทิ ผักผัดใส่น้ำมันพืชหรือน้ำมันหอยจำนวนมาก
  8. พยายามลดความเครียด ซึ่งทำให้เกิดการใช้พลังงานสูงขึ้นการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น (increased turnover of ATP) ทำให้เกิดการสร้างกรดยูริคเพิ่มขึ้น

หมายเหตุ : กรณีตวงในปริมาณ 1 ช้อนชา สามารถใช้ช้อนกาแฟทดแทนได้ดังภาพ

ปริมาณสารพิวรีนในอาหาร 100 กรัม
น้อย 0 – 50 มิลลิกรัม ปานกลาง 50- 100 มาก: คือมากกว่า 100 มิลลิกรัม
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม
- ไข่
- ธัญพืชต่างๆ
- ผักต่างๆ
- ผลไม้ต่างๆ
- น้ำตาล
- ไขมัน
- ผลไม้เปลือกแข็งทุกชนิด
- วุ้นผง เยลลี่
- หมูเนื้อแดง
- ปลากะพงแดง
- เนื้อวัว ปลาหมึก เนื้อปู
- สะตอ ผักโขม หน่อไม้
- ข้าวโอ๊ต
- เมล็ดถั่วลันเตา
- ถั่วลิสง
- ดอกกระหล่ำ
- ใบขี้เหล็ก
- หัวใจไก่ ตับไก่ กึ๋นไก่ ปีกไก่ เอ็นไก่
- ซี่โครงหมู ตับหมู ไส้อ่อน เซ่งจี้
- มันสมองวัว
- เป็ด ห่าน ไข่ปลา
- ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์
- ปลาซาร์ดีน ,ปลาทูน่า,ปลาแซลมอน
- กุ้งชีแฮ้ หอย
- น้ำสกัดเนื้อ น้ำต้มกระดูกน้ำซุปต่างๆ
- ซุปก้อน ยีสต์ เบียร์ กะปิ
- เห็ด กระถิน ชะอม
- ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลืองถั่วดำ

แหล่งข้อมูล:

  1. http://www.acumedico.com/purine.htm [2013, April 1].