เกาต์กำเริบ (ตอนที่ 3)

เกาต์กำเริบ

โรคเกาต์สามารถเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด มักเกิดในตอนกลางคืนโดยไม่มีสัญญาณเตือน เพราะจะตื่นขึ้นกลางดึกด้วยความรู้สึกร้อนที่ขา โดยมีอาการดังนี้

  • ปวดข้ออย่างมาก – ส่วนใหญ่จะเป็นข้อที่ใหญ่ของนิ้วหัวแม่เท้า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ที่เท้า เข่า มือ และข้อมือ ซึ่งมักจะเริ่มปวดตอนกลางคืน จะปวดรุนแรงมากใน 4-12 ชั่วโมงแรกที่เป็น
  • รู้สึกปวดข้อต่อเนื่อง (Lingering discomfort) หลังอาการปวดที่รุนแรง จะรู้สึกปวดข้อต่อไปอีก 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ และปวดที่ข้ออื่นเพิ่มเติม
  • อักเสบและบวมแดง
  • เคลื่อนไหวลำบาก
  • เมื่ออาการดีขึ้น ผิวหนังบริเวณที่เป็นมักจะลอกและคัน

เกาต์เกิดขึ้นเมื่อมีผลึกยูเรท (Urate crystals) สะสมอยู่ในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดมาก โดยผลึกยูเรทมาจากการที่มีกรดยูริก (Uric acid) ในเลือดสูง หรือที่เรียกว่า ภาวะ Hyperuricemia

โดยปกติร่างกายจะมีการย่อยสลายสารที่ร่างกายสร้างขึ้นที่เรียกว่า สารพิวรีน ((Purine) โดยสารพิวรีนนี้สร้างจากภายในร่างกายเองและได้รับจากอาหารต่างๆ เช่น เนื้อแดงวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อปลาทะเล ปลากระป๋อง ขนมปัง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์ และเครื่องดื่มที่มีรสหวานด้วยน้ำตาลผลไม้ (Fructose)

โดยสารพิวรีนนี้จะถูกย่อยสลายเป็นกรดยูริกในเลือด และนำไปกำจัดต่อโดยไตและขับออกทางปัสสาวะ แต่บางครั้งที่ร่างกายมีการผลิตกรดยูริกมากหรือไตสามารถขับกรดยูริกออกได้น้อย กรดยูริกจะสะสมและสร้างตัวเป็นผลึกยูเรทที่มีลักษณะแหลมคมเหมือนเข็มในข้อต่อหรือในเนื้อเยื่อโดยรอบ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวด อักเสบ และบวม

โรคเกาต์แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 – มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงแต่ไม่แสดงอาการเกาต์ บางคนอาจเป็นนิ่วในไต (Kidney stones) ก่อนการเป็นเกาต์ครั้งแรก
  • ระยะที่ 2 – เริ่มมีผลึกยูเรทในนิ้วหัวแม่เท้า เริ่มมีอาการเกาต์กำเริบและหายไป ระยะเวลาของเกาต์กำเริบจะถี่ขึ้น จนทำให้รู้สึกว่าอาการรุนแรงขึ้น เป็นนานขึ้น และเป็นมากกว่า 1 ข้อ
  • ระยะที่ 3 – อาจจะเป็นมากกว่า 1 ข้อ เกิดก้อนใต้ผิวหนังที่เรียกว่า Tophi ซี่ง
    • หากไม่ทำการรักษา ก้อน Tophi จะกลายเป็นกระดูกอ่อน (Cartilage) ในบริเวณหูชั้นนอกหรือเนื้อเยื่อรอบข้อ ซึ่งได้แก่ ถุงน้ำกันเสียดสี (Bursae) เอ็นยึด (Ligaments) และ เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendons) อันเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวด บวม แดง และอักเสบ
    • อย่างไรก็ดีระยะนี้มักไม่ปรากฏเพราะได้รับการรักษาก่อน

แหล่งข้อมูล

1. Gout. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/definition/con-20019400 [2016, April 24].

2. Gout. http://www.webmd.com/arthritis/tc/gout-topic-overview [2016, April 24].