เกลือสมุทร สุดสำคัญ

ภญ. สุนิสา เสียงสกุลไทย เภสัชกรเชี่ยวชาญหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชกรสาธารณสุข ปัตตานี ได้ร่วมประชุมกับผู้ประกอบการทำเกลือสมุทรในจังหวัดปัตตานีจำนวน 189 ราย เพื่อชี้แจงถึงนโยบาย สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ที่จะเข้ามาเสริมสารไอโอดีนในเกลือสมุทรในช่วงการผลิต ในปี พ.ศ. 2555 ด้วยโครงการนำร่องตำบลละแห่ง โดยอาศัยโรงเรือนของเกษตรกรที่มีความพร้อมใช้เป็นสถานที่ผสมหรือคลุกสารไอโอดีน และจะได้รับการแจกถุงบรรจุภัณฑ์ฟรี

จังหวัดปัตตานีมีการผลิตเกลือสมุทรมาเนิ่นนานมาแล้วนับร้อยปี และเป็นที่นิยมมากส่วนใหญ่เพื่อการบริโภคในครัวเรือน แต่เนื่องจากเกลือสมุทรปัตตานีมีสารไอโอดีนไม่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐานที่ อย. (องค์การอาหารและยา) ได้กำหนด จึงจำเป็นต้องมีการเสริมสารดังกล่าว เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค และเป็นไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเกลือบริโภค โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้ประกอบการเกลือสมุทรต้องได้รับผลกระทบจาก ปัญหาอุทกภัยและอากาศปรวนแปร ส่งผลให้บางรายเกือบไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเลย

ส่วนประกอบหลักของเกลือคือ Sodium chloride (NaCl) ซึ่งเป็นสารเคมีที่จำเป็นสำหรับดำรงชีวิตของมนุษย์แต่ในปริมาณน้อย เกลือสำหรับการบริโภค ได้แก่ เกลือสมุทร (ซึ่งยังไม่รับการแปรรูป หรือ Unrefined salt) เกลือแกง (ซึ่งแปรรูปแล้ว หรือ Table salt) และเกลือเติมสารไอโอดีน (Iodized salt) นอกจากนี้ยังมีเกลือหินที่กินได้ (Edible rock salt) ซึ่งมีสีเทาอ่อน เพราะเป็นส่วนประกอบของแร่ธาตุ (Mineral content)

เกลือสมุทร (Sea salt) เป็นเกลือที่ได้จากการกลายเป็นไอของน้ำทะเล ใช้ในการทำอาหารและเครื่องสำอาง แต่การขุดหาเกลือแร่ [ทำเหมืองเกลือแร่] นั้น มีมานานแล้ว ย้อนหลังไปอย่างน้อยถึงยุคเหล็ก (Iron Age) อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ แห่งที่ไม่พบเกลือแร่ มักมีแหล่งเกลือตามชายฝั่งทะเลมานับพันๆปี

หลักการผลิตเกลือสมุทร คือการระเหยของน้ำทะเลที่มีความเค็มในตัว แต่ในที่ซึ่งมีภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้ง การผลิตเกลือก็ต้องอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์ โรงผลิตเกลือดังกล่าว มักพบ ณ (1) ที่ซึ่งมีตลาดเกลือรองรับ (2) ตามชายฝั่งทะเลที่ได้รับการปกป้องจากแดดเผาจัด (3) ที่ซึ่งมีเชื้อเพลิงต้นทุนถูก โดยเฉพาะแสงแดดพอประมาณ และ (4) การค้าอื่นที่ได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้แหล่งผลิตเกลือ อาทิ การแปรรูป (Preservation) อาหารให้เก็บไว้ได้ยาวนานของ เนื้อเค็ม

ตามข้อมูลของ Mayo Clinic และศาสตราจารย์ชาวออสเตรเลีย Bruce Neal ผลกระทบด้านสุขภาพจากการกินเกลือสมุทร หรือเกลือแกงนั้น ไม่แตกต่างกัน

ในอาหารเกาหลีตามประเพณีนิยมที่ชื่อ “จุกเยียม” (ซึ่งหมายถึง “เกลือไผ่”) มีการตระเตรียมอาหารโดยการย่างเกลือในอุณหภูมิระหว่าง 800 ถึง 2000 °C ในกระบอกไม้ไผ่ ที่อัดด้วยโคลนตมทั้งสองข้าง แล้วดูดแร่ออกจากไม้ไผ่และโคลนตม [ให้เหลือแต่เกลือ] เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของการหมักถั่วเหลืองในรูปแป้งเปียก

ไอโอดีน ซึ่งเป็นธาตุสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ พบปริมาณน้อยเฉพาะในเกลือสมุทรเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เกลือหินซึ่งตามธรรมชาติแล้วขาดสารประกอบไอโอดีนเมื่อเปรียบเทียบกับเกลือสมุทร สามารถเติมไอโอดีนได้ในทางอุตสาหกรรมเพื่อการใช้รักษาป้องกันโรคคอพอก (Goiter) และโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการขาดไอโอดีน ส่วนความเข้มข้นของโอดีนในเกลือสมุทรแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา

แหล่งข้อมูล:

  1. เตรียมเสริมไอโอดีนในเกลือสมุทรปัตตานี http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156258&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2011, December 10].
  2. Sea salt. http://en.wikipedia.org/wiki/Sea_salt [2011, December 10].